การถ่ายยีนด้วยการยิงอนุภาคที่มีประสิทธิภาพสูงเข้ากล้วยไม้สกุลหวายแบบถาวร


อุษา เกษสุวรรณ1 จิตราพรรณ พิลึก 2
ศาลักษณ์ พรรณศิริ 3 และ พัฒนา ศรีฟ้า ฮุนเนอร์1,4

      ระดับการแสดงออกของยีนกัส (gus gene) ถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโปรโมเตอร์ในการถ่ายยีน โดยการยิงอนุภาคเข้ากล้วยไม้สกุลหวายแจคเกอลีนโทมัส ผลจากการทดสอบประสิทธิภาพของโปรโมเตอร์ 3 ชนิด พบว่า โปรโมเตอร์แอคติน (Actin promoter) ของข้าวควบคุมการแสดงออกของยีนกัส ในกลีบดอกของกล้วยไม้ดีกว่าโปรโมเตอร์ของไวรัสดอกกระหล่ำ (CaMV35S promoter)และโปรโมเตอร์ยูบิควิติน (Ubiguitin promoter)ของข้าวโพดซึ่งให้จุดสีน้ำเงินของกัสน้อยกว่า การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการยิงอนุภาค โดยดูการแสดงออกของยีนเรืองแสง (gfp gene) แบบถาวร พบว่าการยิงอนุภาคด้วยแรงดันแก๊สฮีเลียมที่ 1100 ปอนด์ต่อนิ้ว ? ด้วยระยะยิง 9 เซนติเมตรให้ผลดี อย่างไรก็ตามความสำเร็จของการถ่ายยีนขึ้นกับระยะการเจริญเติบโตของโปรโตคอร์มของกล้วยไม้ ที่เหมาะสมและพื้นฐานในด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

1ภาควิชาพันธุศาสตร์
2
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
3 ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ
4สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210