งาขาวฝักไม่แตกพันธุ์ซีพลัส 1 |
||||||||||||||||||||||||||||||||
วาสนา วงษ์ใหญ่ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
ปัจจุบันพื้นที่ปลูกงาของเกษตรกรส่วนมากจะมีขนาดเล็กทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
เนื่องจากไม่สามารถนำเครื่องเก็บเกี่ยวมาใช้ได้ เพราะพันธุ์งาที่ปลูกเป็นการค้าทั่วโลกเกือบทั้งหมดเป็นพันธุ์ฝักแตก
(shattering) เมื่อสุกแก่ทำให้เมล็ดร่วง นอกจากนี้งาเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตแบบทอดยอด
(indeterminate growth) การสุกแก่ของฝักงาไม่พร้อมกัน ฝักจะทยอยสุกแก่จากโคนต้นขึ้นไปสู่ฝักที่อยู่ส่วนปลายลำต้น
การสูญเสียผลผลิตของงาเนื่องจากการร่วงของเมล็ดเพราะฝักแตกมีมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์
(Bolye และ Oemake, 1995) ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์งาเพื่อลดการร่วงของเมล็ดจากฝักหรือฝักต้านทานการแตก
(shatter resistance) หรือฝักไม่แตก (non - shattering) เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตงาต่อพื้นที่และสามารถปลูกงาในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้
เพราะสามารถนำเครื่องเก็บเกี่ยวมาใช้ได้ และยังเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานเกษตรที่จะมีมากขึ้น
โครงการปรับปรุงพันธุ์งา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พัฒนาพันธุ์งาฝักไม่แตกพันธุ์ซีพลัส 1 ได้ในปี 2546 งาขาวพันธุ์ซีพลัส 1 เป็นพันธุ์งาที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกด้วยวิธีจดประวัติจากคู่ผสม KUds6111 x S20 สายพันธุ์ KUds6111 เป็นสายพันธุ์ที่มีลักษณะฝักชะลอการแตกหลังสุกแก่ (delayed shattering) ของโครงการฯ สายพันธุ์ S20 มีลักษณะฝักต้านทานการแตกของบริษัท Sesaco Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา จากผลการคัดเลือกลักษณะทางเกษตร เช่น อายุเก็บเกี่ยว จำนวนฝักต่อต้น สีและขนาดของเมล็ด ผลผลิตต่อไร่ ได้คัดเลือกสายพันธุ์ KUds6111/S20 3 1 5 (KUsr6662) ต่อมาให้ชื่อว่า พันธุ์ซีพลัส 1 ลักษณะเด่นของงาขาวพันธุ์ซีพลัส 1 คือ เมื่อสุกแก่ฝักไม่แตก เมื่อฝักแห้งเมล็ดไม่ติดแน่นกับแกนกลางฝัก (placenta) เขย่าฝักจะได้ยินเสียงเมล็ด เมื่อกะเทาะเมล็ดด้วยเครื่องนวดข้าว ข้าวโพด หรือ ถั่วเหลือง เมล็ดจะออกจากฝักง่าย เปลือกหุ้มเมล็ดไม่เสียหาย เมล็ดมีสีขาวขนาดใหญ่ รสชาติอร่อย ต้นงาที่ สุกแก่แล้วถ้าเก็บไว้นานประมาณ 6 เดือน ปลายฝักจะเริ่มแยกจากกัน ลักษณะประจำพันธุ์
|