หอยเชลล์: อนาคตของเกษตรกรไทย


อุทัยรัตน์ ณ นคร
ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ร่วมกับ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อสนองพระดำริ ใน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

1. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของหอยเชลล์ Chlamys senatoris ในประเทศไทย

       หอยเชลล์มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพในการเลี้ยง การเลี้ยงหอยเชลล์ต้องทำในทะเล อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรม ข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมจะช่วยให้สามารถกำหนดประชากรที่จะนำมาทำการเพาะเลี้ยงได้โดยไม่เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรม และเป็นข้อมูลพื้นฐานติดตามการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดจากสิ่งแวดล้อมและการทำการประมงต่อไป

วิธีการศึกษา

      เครื่องหมายพันธุกรรมที่ใช้ศึกษา คือ ไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอ โดยศึกษาความหลากหลายของลำดับนิวคลีโอไทด์ในส่วนของ 16S rRNA จำนวน 522 bp

ผลการศึกษา
                                                                                                                                                                                                                                         

ประชากร
จำนวนตัวอย่าง
จำนวน haplotype
nucleotide diversity
จ.ชลบุรี
27
4
0.0004
จ.ประจวบคีรีขันธ์
40
7
0.0007
จ.ภูเก็ต
40
6
0.0006

       หอยเชลล์ทั้ง 3 ประชากร มีความแตกต่างทางพันธุกรรม โดยประชากรจังหวัดชลบุรีและประจวบคีรีขันธ์ มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญทางสถิติ ประชากรฝั่งอ่าวไทยและ อันดามันมีความแตกต่างทางพันธุกรรมอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงไม่ควรนำหอยเชลล์จากท้องที่หนึ่งไปเลี้ยงในอีกท้องที่หนึ่ง นอกจากจะทำให้หอยเชลล์เหล่านั้นเป็นหมันเสียก่อน
ประชากรทุกประชากรมีความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรค่อนข้างต่ำ ซึ่งอาจหมายถึงมี พ่อแม่พันธุ์จำนวนไม่มากนัก


2. การทดลองเลี้ยงหอยเชลล์


      การเลี้ยงหอยเชลล์ หากสามารถพัฒนาวิธีการให้สามารถเลี้ยงได้ผลดี จะเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพของเกษตรกรได้อย่างดี การเลี้ยงหอยเชลล์ มีการทำแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ชิลี แคนาดา แต่ในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีเทคโนโลยีดังกล่าว

วิธีการศึกษา

      ใช้วิธีการเลี้ยงแบบ lantern net บริเวณอ่าวศรีราชา จ.ชลบุรี ทดลองเลี้ยงที่ 2 ระดับความลึก (1 และ 3 เมตร) และความหนาแน่น 10, 20, 30, 40 และ 50 ตัวต่อชั้นการเลี้ยง เลี้ยงนาน 6 เดือน

ผลการศึกษา

      หอยเชลล์มีการเจริญเติบโตทางด้านความยาวเฉลี่ย ความกว้างเฉลี่ย ความหนาเฉลี่ยและน้ำหนักเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างกันตลอดช่วงการเลี้ยง และมีอัตราการรอดตายเฉลี่ยถึง 81.2-82.27% ในเดือนที่ 4 แต่หลังจากนั้นก็จะมีอัตราการรอดตายเฉลี่ยลดลงอย่างรวดเร็ว ในเดือนที่ 5 และเหลือปริมาณหอยเชลล์จากการเลี้ยงที่น้อยมากในเดือนที่ 6 ของการเลี้ยง น่าจะเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงหอยเชลล์ดังกล่าว ซึ่งจะมีการศึกษาและทดลองเพิ่มเติมต่อไป