การใช้แรงบีบรัดตัวของปีกมดลูกกำหนดระยะเวลาเหมาะสมในการผสมเทียมโค
An Application of Uterus Horn Tone Indicating Timed Artificial Insemination in Cattle
 
จีระชัย กาญจนพฤฒิพงศ์1 นาม บัวทอง2 และ คมเดช จีนะเจริญ3
1 ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร
1,2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตนม สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ
3 โรงพยาบาลสัตว์ กำแพงแสน คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โทร. 034-351-892

          ปัญหาการผสมติดยากในโค จัดเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของการเลี้ยงโคในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี ปัญหาการผสมติดยากในโคออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ

  • ความผิดพลาดในเรื่องการจัดการฟาร์มของผู้เลี้ยงโค
  • ความผิดปกติของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ของโคเพศเมีย

          ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียมจัดเป็นหนึ่งในที่มาของปัญหาผสมติดยากในโคที่เลี้ยงภายใต้สภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย ซึ่งถูกผูกยึดกับการแสดงอาการเป็นสัดของโคและความแม่นยำในการจับสัดของผู้เลี้ยงโค การแสดงอาการเป็นสัดของโคเป็นผลมาจากอิทธิพลของระดับฮอร์โมน "เอสโตรเจน" หรือฮอร์โมน "เพศเมีย" ที่ถูกสร้างขึ้นจาก "ฟลอริเคิล" หรือที่เรียกว่า "ฟองไข่" ที่รังไข่ นอกจากนั้นการแสดงอาการเป็นสัดยังผูกยึดกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในรอบปี ดังนั้นการแสดงอาการเป็นสัดของโคจึงมีความหลากหลาย

          เกณฑ์กำหนดระยะเวลาเหมาะสมในการผสมเทียมโคต้องคำนึงถึงระยะเวลาการเป็นสัดและระยะเวลาตกไข่ที่แตกต่างกันของโคเพศเมียแต่ละตัว การแสดงอาการเป็นสัดและระยะเวลาการตกไข่เป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นสอดคล้องตามการเจริญเติบโตและพัฒนาของฟองไข่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงเป็นฮอร์โมนหลักในการควบคุมการแสดงอาการเป็นสัด เมื่อล้วงคลำที่ปีกมดลูก กล้ามเนื้อเรียบของปีกมดลูกแสดงอาการเกร็งตัวตามการเปลี่ยนแปลงของการเป็นสัด ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือเป็นอิทธิพลร่วมของฮอร์โมนอื่น การเกร็งตัวของปีกมดลูกในที่นี้จะใช้คำว่าแรงบีบตัวของปีกมดลูก ดังนั้นการใช้แรงบีบรัดตัวของปีกมดลูกจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้กำหนดระยะเวลาเหมาะสมในการผสมเทียมโค

          อัตราการผสมติดครั้งแรกในการผสมเทียมที่คะแนนแรงบีดรัดตัวของปีกมดลูกต่าง ๆ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2542-45 จากจำนวนแม่โครีดนมทั้งหมด 223 ตัว ที่มีระยะเวลาให้นม 75-105 วันหลังคลอด ในฝูงแม่โครีดนมที่มีระดับพันธุ์ขาว-ดำมากกว่า 93.25 %

          การใช้แรงบีบรัดตัวของปีกมดลูกกำหนดระยะเวลาเหมาะในการผสมเทียมโค จัดเป็นเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับการเลี้ยงโคในประเทศไทยที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย และเป็นเครื่องมือสำหรับจัดการฟาร์มที่มีต้นทุนต่ำ แต่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผสมติดได้ดีมาก พอสรุปได้ดังนี้

          การใช้แรงบีบรัดตัวของปีกมดลูกกำหนดระยะเวลาเหมาะสมในการผสมเทียมโค มีความแม่นยำเพราะเป็นหลักการที่สะท้อนการเจริญเติบโตและพัฒนาของฟองไข่ และการทำงานระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ ซึ่งมีผลต่อระยะเวลาเป็นสัดและระยะเวลาการตกไข่ของโคแต่ละตัวดังนี้

โคที่เป็นสัดปกติให้ผสมเทียมที่แรงบีบรัดตัวของ ปีกมดลูกที่คะแนน -2
โคที่เป็นสัดยาวกว่าปกติเล็กน้อยให้ผสมเทียมที่แรงบีบรัดตัวของ ปีกมดลูกที่คะแนน -1.5
โคที่เป็นสัดยาวมากให้ผสมเทียมที่แรงบีบรัดตัวของ ปีกมดลูกที่คะแนน -1

          การใช้แรงบีบรัดของปีกมดลูกเป็นเครื่องมือที่สามารถกำหนดระยะเวลาเหมาะสมในการผสมเทียมโคที่มีคอมดลูกคดได้ด้วย โคที่มีคอมดลูกคดมักจะมีการตกไข่ที่เร็วกว่าปกติ แรงบีบรัดตัวที่เหมาะสมในการผสมเทียมโคที่มีคอมดลูกคดคือ คะแนน -3 ถึง -2.5 ซึ่งเป็นระยะเวลาคอมดลูกยังคงมีการเกร็งตัวอยู่ ทำให้การสอดหลอดผสมเทียมได้ไม่ยาก หากปล่อยให้แรงบีบรัดตัวของปีกมดลูกมีคะแนนน้อยกว่า -2.5 จะทำให้ไม่สามารถสอดหลอดผสมเทียมได้

การให้คะแนนแรงบีบรัดตัวของปีกมดลูกโค