อรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทย
เป็นอรรถาภิธาน (Thesaurus) ด้านการเกษตรในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับแรกของประเทศไทย
เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมคำศัพท์ด้านการเกษตรและสาขาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรกว่า
46,000 คำ โดยคำศัพท์แต่ละคำมีการจัดความสัมพันธ์ในลักษณะลำดับชั้น (Hierarchical
Relation) แสดงผลในสองภาษาหลัก คือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสองภาษารอง
คือภาษาฝรั่งเศส และภาษาสเปน
ลักษณะและขอบเขต
ประเภทของคำศัพท์ แบ่งเป็น
3 ประเภท คือ คำศัพท์หลัก (Descriptors), คำพ้อง หรือคำที่มีความหมายเดียวกัน
(Non-Descriptors) และคำอธิบายขอบเขต (Scope Notes)
ความสัมพันธ์ของคำศัพท์ มีลักษณะเป็นลำดับชั้น โดยมีการจัดความสัมพันธ์
ที่มีรูปแบบดังนี้
- คำที่มีความหมายกว้างกว่า (Broader Term - BT)
- คำที่มีความหมายแคบกว่า (Narrower Term - NT)
- คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกัน (Related Term - RT)
- คำที่เป็นคำโยง (Use for - UF และ Use) |
 |
แหล่งข้อมูล
- AGROVOC Thesaurus เป็นอรรถาภิธานศัพท์เกษตรของ
FAO ปัจจุบันมี 7 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส อิตาลี
จีน และ อะราบิค อรรถาภิธานดังกล่าว เป็นชุดคำศัพท์ด้านการเกษตรที่ใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทำดรรชนี
และการสืบค้นสารสนเทศด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ ซึ่งทางโครงการฯ
ใช้เป็นมาตรฐานคำศัพท์ตั้งต้นในระยะเริ่มแรกของโครงการ
- คำศัพท์ในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรของประเทศไทย
ที่มีการรวบรวมและจัดพิมพ์
- คำศัพท์และคำดรรชนีในบทความ และผลงานวิจัยด้านการเกษตรของประเทศไทย
รวบรวมข้อมูลย้อนหลัง 20 ปี
ประโยชน์ของอรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทย
- เป็นคำศัพท์มาตรฐาน ใช้ในการทำดรรชนีสารสนเทศด้านการเกษตรของไทย
- เป็นอรรถาภิธาน ใช้ในการสืบค้นสารสนเทศด้านการเกษตร
ช่วยขยายขอบเขตคำค้นให้สามารถค้นข้อมูลได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
- ใช้คำศัพท์ภาษาไทย สืบค้นข้อมูลได้หลายภาษา
โดยการเชื่อมโยงกับ Multilingual Thesaurus ของ FAO
- เป็นคลังคำศัพท์เกษตร สำหรับระบบการแปลภาษาอัตโนมัติของไทย
การใช้อรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทยในการค้นข้อมูล
อรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทย เป็นฐานความรู้ที่ช่วยในการสืบค้นสารสนเทศด้านการเกษตร
โดยการขยายองค์ความรู้ในการสืบค้น สามารถขยายขอบเขตคำค้นให้กว้างขึ้น
หรือจำกัดขอบเขตคำค้นให้แคบลง แสดงความสัมพันธ์ของคำในลักษณะของลำดับชั้นและคำที่มีความหมายเกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้คุณสมบัติของการเป็น Multilingual Thesaurus
ในการค้นข้อมูลแบบหลากภาษา โดยมีวิธีการค้นข้อมูลใน 3 รูปแบบ ดังนี้

การใช้อรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทยในการบันทึกข้อมูล
การใช้อรรถาภิธานศัพท์เกษตร ในการจัดทำดรรชนีสารสนเทศด้านการเกษตรของไทย
จะช่วยให้คำดรรชนีในฐานข้อมูลมีมาตรฐานเดียวกัน ลดปัญหาการใช้คำศัพท์หลากหลายรูปแบบ
ช่วยให้สืบค้นข้อมูลได้ ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ การกำหนดคำดรรชนี
สามารถดำเนินการได้โดยตรงในระบบการบันทึกข้อมูล โดยเลือกภาษาของอรรถาภิธาน
และเลือกคำดรรชนีจากรายการด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง คำที่มีความหมายเดียวกันในภาษาอื่น
จะถูกบันทึกไว้ในระบบโดยอัตโนมัติ เช่น การกำหนดคำดรรชนีจากอรรถาภิธานศัพท์เกษตรภาษาไทย
ระบบจะกำหนดคำดรรชนีภาษาอังกฤษให้โดยอัตโนมัติ

|