การใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นในอาหารกุ้งก้ามกราม Macrobrachium rosenbergii (de Man)

 
ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ และคณะ
ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำ คณะประมง
โทร. 0-2561-3031

         การใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นในอาหารกุ้งก้ามกราม วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 5 ชุดการทดลอง 3 ซ้ำ ทำการศึกษา แยกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาที่ 1 ศึกษาประสิทธิภาพการย่อยได้ด้วยเอนไซม์เปปซิน วิเคราะห์ค่าการย่อยได้ของโปรตีนและวัตถุแห้งในวัตถุดิบอาหารและอาหารที่ใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่น พบว่า ประสิทธิภาพการย่อยได้ของโปรตีนในอาหารมีค่าลดลง(P<0.05)โดยมีค่าใน ช่วง 82.86-74.80 % เมื่อมีการใช้หอยเชอรี่ในอาหารเพิ่มขึ้นจาก 0-100% ส่วนการศึกษาที่ 2 ศึกษาระดับการใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นในอาหารกุ้งก้ามกรามต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการใช้อาหาร ทดลองโดยใช้อาหาร 34+1% เปอร์เซ็นต์โปรตีน ที่มีพลัง งานที่ย่อยได้ 3,100+100 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม กำหนดให้อาหารมีระดับการใช้หอยเชอรี่ทดแทนทดแทนปลาป่น จำนวน 5 ระดับ คือ 0, 25, 50, 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ของโปรตีนจากปลาป่น พบว่าในสองเดือนแรกสมรรถภาพการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการใช้ อาหารมีค่าใกล้เคียงกัน (p>0.05) ส่วนเดือนที่สามสมรรถภาพการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการใช้อาหารมีค่าลดลงในกลุ่มที่ได้รับอาหารหอยเชอรี่ทดแทนปลาป่น(p<0.05) ดังนั้น จึงใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นได้ 100%ในช่วงสองเดือน และใช้กรณีที่ใช้ประจำ สามารถใช้ หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นได้ 25%ของโปรตีนจากปลาป่น( 8.75%โดยน้ำหนัก) และ ระดับสูงสุดที่สามารถใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นได้ ไม่ควรมากกว่า 50 % ของโปรตีนจากปลาป่น
( 17.5%โดยน้ำหนัก)

         ในการเลี้ยงกุ้งให้ประสบความสำเร็จ โดยทั่วไปพิจารณาที่ปัจจัยด้านอาหาร ซึ่งเน้นที่โปรตีนในอาหารซึ่งมีผลต่อการเติบโต เมื่อพิจารณาที่ระดับโปรตีนที่สะสมในร่างกายต่อค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ซึ่งเป็นผลจากระดับโปรตีนที่เหมาะสมและคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ ดังนั้น แนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนค่าอาหาร คือ การเลือกใช้วัตถุดิบอาหารโปรตีนสูงเพื่อทดแทนปลาป่น เช่น หอยเชอรี่ ซึ่งเป็นวัตถุดิบโปรตีนสูงจากสัตว์ ที่มีโปรตีน 54%-65% (เฉพาะเนื้อแห้ง) และมีการขยายพันธุ์รวดเร็ว มีราคาถูก (Hertrampf and Piedad-Pascual, 2000) จึงมีศักยภาพในการใช้ทดแทนปลาป่น นอกจากนี้ในบางพื้นที่ของประเทศไทย หอยเชอรี่เป็นศัตรูข้าวที่สำคัญมีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง การนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการกำจัดหอยเชอรี่

อุปกรณ์และวิธีการ
         เป็นการศึกษาระดับการใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นในอาหารกุ้งก้ามกรามที่มีโปรตีน (34+1% CP) เปอร์เซ็นต์ พลังงานที่ย่อยได้ 3,100+100 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม มีระดับการทดแทน5 ระดับ คือ 0, 25, 50, 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ของโปรตีนจากปลาป่น โดยมีสูตรอาหารดังนี้

แผนการทดลอง
              วางแผนการทดลองแบบ CRD 5 ชุดการทดลอง 3 ซ้ำ
การทดลองที่ 1
               ศึกษาประสิทธิภาพการย่อยได้ของโภชนะในอาหารและวัตถุดิบอาหาร ด้วยเอนไซม์เปปซินที่มีประสิทธิภาพ (activity) 1:10,000 ตามวิธีการของ AOAC,(2000)
การทดลองที่ 2                                             
               ศึกษาระดับที่เหมาะสมในการใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นในอาหารกุ้งก้ามกรามต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและประสิทธภาพการใช้อาหาร โดยเลี้ยงกุ้งขนาด 21.22 -21.69 กรัม ในบ่อซีเมนต์สี่เหลี่ยมปริมาตรน้ำ 1.8 ลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ศึกษาอัตราการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักเพิ่ม อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และประสิทธิภาพการใช้อาหาร และประสิทธิภาพของโปรตีนในอาหาร ตามวิธีการของ De Silva (1995) วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย Duncan’s multiple range test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

ผลและวิจารณ์

  • การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยได้ของโภชนะในอาหารและวัตถุดิบอาหาร พบว่าปลาป่นมีประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนสูงที่สุด ส่วนหอยเชอรี่และแกลบกุ้งมีประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนต่ำลง
  • อาหารกุ้งก้ามกรามที่ใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่น มีค่าการย่อยได้ของโปรตีนลดลง

การศึกษาระดับที่เหมาะสมของการใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นในอาหารกุ้งก้ามกรามต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต พบว่า

  • น้ำหนักเพิ่มต่อตัว และน้ำหนักเพิ่มต่อตัวต่อวันในกลุ่มที่ใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่น 25 - 50 % จะมีใกล้เคียงกลุ่มที่ใช้ปลาป่น และการใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นที่ระดับ 100% มีค่าการเติบโตต่ำ
  • อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ประสิทธิภาพของโปรตีน และค่าการใช้ประโยชน์โปรตีนในอาหาร ที่ระดับการใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นที่ 25% มีค่าใกล้เคียงกลุ่มที่ใช้ปลาป่น ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อหอยประกอบด้วยโปรตีนชนิดเส้นใยมีความเหนียว ประสิทธิภาพการย่อยได้ต่ำกว่าโปรตีนจากปลาป่น จึงมีผลให้การเติบโตลดลงในกลุ่มที่ใช้หอยเชอรี่ในปริมาณมาก



       นอกจากนี้ในการศึกษาของ Bombeo-Tuburan et al. (1995) ในกุ้งก้ามกรามพบว่า ผลผลิตกุ้งจะเพิ่มขึ้นเมื่อ เมื่อได้รับอาหารผสมหอยเชอรี่สด ร่วมกับมันสำปะหลัง หรือข้าวโพด และในการศึกษาของ Cagauan and Doria (1989) อ้างโดย Cagauan and Joshi (2002) พบว่าในสัตว์น้ำวัยอ่อน การใช้เนื้อหอยเชอรี่แห้ง 60% ร่วมกับรำละเอียด และ แกลบกุ้ง ให้ผลการเติบโตที่ดีเช่นเดียวกับการใช้ปลาป่น ซึ่งระดับการใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่น 25-50% ( 8.75-17.5% โดยน้ำหนักของหอยเชอรี่ในสูตรอาหาร) เป็นระดับเดียวกับที่พบในรายงานของ AQUACOP(1976)