เมล็ดพันธุ์ที่ดี
มีคุณภาพความงอกมีความแข็งแรงสูง และปราศจากโรคแมลงแล้วย่อมทำให้ต้นพืชนั้นเจริญงอกงาม
แข็งแรง ออกดอกและ ให้ผลผลิตดีในที่สุด เมล็ดพันธุ์จัดเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ระบุไว้ในข้อกำหนดเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยว่า
จะต้องไม่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (GMO, genetic
modified organism) และปราศจากการคลุกสารเคมีสังเคราะห์ใดๆทั้งสิ้นที่จะใช้ในการเตรียมเมล็ด
แต่ก็ยังมีสารอนินทรีย์ที่อนุญาตให้ใช้ได้ เช่น ธาตุอาหารเสริม ได้แก่
โบรอน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส โมลิบดีนัม และสังกะสี และการเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก
แนะนำให้แช่น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50 - 55 องศาเซลเซียส เพื่อกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดที่ติดมากับเมล็ด
การคลุกเมล็ดด้วยจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา (trichoderma)
เชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis (Bs) ทั้งหลายเหล่านี้สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับชนิดเมล็ดพืช
และเชื้อสาเหตุโรค ปัญหาในปัจจุบันไม่มีเมล็ดพันธุ์ที่ขายในท้องตลาด
ระบุว่าใช้ได้สำหรับเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ที่จำหน่ายล้วนคลุกด้วยสารเคมีแทบทั้งสิ้นในข้อกำหนดเกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากลกำหนดว่า
ปี ค.ศ.2005 ต้องใช้เมล็ดพันธุ์พืชที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้น
|
|
|
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องมีการเตรียมความพร้อมเมล็ดพันธุ์อินทรีย์
ให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากสารเคมี และเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพการงอกสูง
มีความตรงตามพันธุ์ออกสู่ตลาดเมล็ดพันธุ์ ในสภาพปัจจุบันมีการเตรียมการ
และศึกษาแต่ยังไม่มีหน่วยงานใดสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ในระบบเกษตรอินทรีย์ได้
เห็นควรอนุโลมให้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ในระบบGAPไปก่อน ให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี
แล้วจึงใช้เมล็ดพันธุ์ ล็อทนั้นๆ ไปเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับเกษตรอินทรีย์
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ทำได้หลายประการขึ้นอยู่กับปัญหาที่จะเกิดในขณะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หรือในแปลงปลูก
เริ่มดำเนินการได้ทันทีหลังการเก็บเกี่ยว ถ้าต้องการเก็บรักษาไว้ใช้ในระยะยาวนานต้องลดความชื้นให้ต่ำ
และเก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิต่ำ ถ้ามีปัญหาแมลงในโรงเก็บก็ควรทำลายแมลงก่อนทำการเก็บรักษาในห้องปกติ
แต่ถ้าเก็บในที่อุณหภูมิต่ำก็สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตหรือยับยั้งการเพิ่มปริมาณของแมลงได้ระยะหนึ่ง
ถ้าเมล็ดพันธุ์นั้นมีอายุการพักตัวต้องทำลายอายุการพัก การเตรียมเมล็ดพันธุ์ให้พร้อมการงอกทันทีเมื่อลงปลูกทำให้ได้ต้นกล้าที่งอกสม่ำเสมอ
และลำต้นตั้งตัวได้ดีทั่วทั้งแปลงปลูก
|
|
ขบวนการเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับเกษตรอินทรีย์
|
|
แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์
- ใช้พื้นที่ปลูกได้มาตรฐาน
ตามระบบ GAP
- ใช้พันธุ์ดีและเป็นพันธุ์ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์
- ปรับปรุงดิน ป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
ตามระบบ GAP
- คัดทิ้งพันธุ์ปน จากแปลงปลูก
|
เตรียมอะไรไปกับเมล็ดพันธุ์
- ใช้น้ำอุ่นหรือความร้อนแห้งฆ่าโรคและแมลงที่ติดมากับเมล็ด
- ใช้อินทรีย์สารช่วย เร่งการเจริญเติบโตระยะกล้า
- ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่นไตรโคเดอร์มาเป็นต้น
เพื่อควบคุมโรคในระยะต้นกล้า
- ใช้สารสกัดธรรมชาติ ป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
ในขณะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และระยะต้นกล้า
- ใช้จุลินทรีย์ให้สีหรือสีย้อมธรรมชาติ
หากมีการ เคลือบเมล็ดพันธุ์
|
วัสดุสำหรับเตรียมเมล็ดพันธุ์อินทรีย์
- ทดสอบใช้กับเมล็ดพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ
- ทดสอบในแปลงปลูก
- ทดสอบกับการปลูกพืชในสภาพไร้ดิน
- วิเคราะห์ชนิดและปริมาณองค์ประกอบ
- ใช้สารปราศจากโลหะหนักและอื่นใดที่เป็นข้อห้ามในระบบเกษตรอินทรีย์
|