เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย

 
สุรัตน์วดี จิวะจินดา
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โทร. 0-3428-1092

          เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็กนี้ เป็นเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยที่ออกแแบบขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก เนื่องจากเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยในระบบอุตสาหกรรมโดยทั่วไปมักจะมีขนาดใหญ่ ยากต่อการติดตั้ง หรือขนย้าย และมีราคาแพง ส่วนชุดเครื่องกลั่นที่ใช้ในห้องปฏิบัติการมักจะมีส่วนประกอบที่เป็นแก้วซึ่งชำรุดเสียหายได้ง่าย ไม่เหมาะกับการใช้งานในลักษณะของอุตสาหกรรมในครัวเรือนหรือโดยกลุ่มเกษตรกร

เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยนี้ได้ทำการยื่นจดอนุสิทธิบัตรต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วได้รับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 534 เมื่อวันที่ 24 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2543 และได้ทำการผลิตออกจำหน่ายแก่ผู้สนใจแล้วจำนวนหนึ่ง

          เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยนี้ใช้กลั่นเพื่อสกัดแยกเอาน้ำมันชนิดน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ไม่ใช่น้ำมันพืชทั่วไป (Fixed oil) จากส่วนที่มีน้ำมันหอมระเหยสะสมอยู่ของพืช เช่น ใบ ราก ดอก หรือ เนื้อไม้ ออกแบบให้เป็นถังกลั่นชนิดเบ็ดเสร็จถังเดียวขนาดเล็กโดยใช้ระบบการกลั่นด้วยน้ำ (Hydro distillation) มีระบบควบคุมอุณหภูมิ และความดัน โดยมีส่วนที่ทำการควบแน่น (Condenser) แยกต่างหาก สามารถประกอบ หรือถอดชิ้นส่วนออกได้ง่าย และขนย้ายได้สะดวก ทำจากเหล็กปลอดสนิมชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (Stainless steel, Food grade) สามารถทนแรงดันจากภายในได้ไม่ต่ำกว่า 3 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีส่วนประกอบทั้งหมดห้าส่วน

  1. ถังกลั่น (Retort)
  2. ฝาของถังกลั่น (Retort cover)
  3. ท่อนำไอน้ำ (Vapour conduct tube)
  4. ตัวควบแน่น (Condenser)
  5. ถังรองรับน้ำมันและแยกน้ำมัน (Reciever and seperator)


ข้อมูลจากการทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชชนิดต่างๆ

* ข้อมูลได้จากการทดลองกลั่นวัตถุดิบที่หาซื้อได้จากท้องตลาดไม่ได้ควบคุมคุณภาพเพื่อผลิต น้ำมันหอมระเหย**
** วัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับการกลั่นควรจะเป็นวัตถุดิบที่มีอายุที่เหมาะสมที่จะให้ผลผลิตน้ำมันสูงสุด
เช่น เปลือกผลมะนาวและมะกรูดต้องแก่จัดแต่ยังไม่สุก ใบพืชต่างๆ ต้องเป็นใบแก่ ดอกต้องเป็นดอกบานเต็มที่ เมล็ดและรากต้องแก่จัด เหง้าสมุนไพร ควรมีอายุมากกว่า 1 ปี เป็นต้น