การอนุรักษ์และการขยายพันธุ์มันพื้นบ้าน

ด้วยเหตุนี้ ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย ดร.รงรอง หอมหวล นางมณฑา วงศ์มณีโรจน์ นางสาวสุลักษณ์ แจ่มจำรัส นายสมนึก พรมแดง และนายวุฒิชัย ทองดอนแอ จากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์และการขยายพันธุ์มันพื้นบ้าน โดยทำการเก็บรวบรวมพันธุ์มันพื้นบ้าน ศึกษาวิธีการขยายพันธ์ และเก็บรักษาพันธุกรรมมันพื้นบ้านไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ รวมทั้งคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอาหาร โดยทำการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และบางจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ด้านอาหาร ทำการคัดเลือกมาศึกษาวิธีขยายพันธุ์ ทั้งโดยวิธีปกติที่ชาวบ้านใช้กันมาแต่ดั้งเดิม และวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากนั้นศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาพันธุกรรมในหลอดทดลองด้วยการใช้สารเคมี และอุณหภูมิต่ำ การย้ายปลูกเลี้ยงต้นกล้า ในเรือนเพาะชำ เพื่อผลิตต้นกล้าและนำกลับไปส่งเสริมการปลูกในชุมชน หรือป่าธรรมชาติ

Read more

การใช้สารไคโตซานร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเพาะเลี้ยงข้าวขาวดอกมะลิ 105

“ข้าว” เป็นธัญญาหารหลักของชาวโลก จัดเป็นพืชสายพันธุ์เดียวกับหญ้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นหญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและมีความหลากหลายทางชีวภาพ ข้าวนอกจากจะเป็นอาหารหลักของคนไทยแล้วยังเป็นสินค้าส่งออกทางการเกษตรที่สำคัญ จากข้อมูลปี 2552 ประเทศไทยส่งออกข้าว 8.5 ล้านตันคิดเป็นมูลค่า 4,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ยังพบปัญหาชาวนาขาดทุนจากการปลูกข้าวทุกปีอย่างต่อเนื่อง

Read more