วัสดุอินทรีย์จากมะพร้าว สำหรับปลูกผักอินทรีย์

วุฒิชัย ทองดอนแอ นักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โทร.0-3435-1399 

Read more

ฟิล์มโปรตีนจากวัสดุเหลือทิ้งจากมะพร้าว

รศ.ดร.รังสินี โสธรวิทย์ และ น.ส.ภัทราทิพย์ รอดสำราญ
ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

Read more

ผลิตภัณฑ์ผงเบต้าไซยานิน จากเปลือกแก้วมังกร โดยคุณชุษณา เมฆโหรา

ผลิตภัณฑ์ผงเบต้าไซยานิน จากเปลือกแก้วมังกร เปลือกแก้วมังกรสีแดง เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ที่มีศักยภาพในการนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยผ่านกระบวนการสกัดสารเบต้าไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรอบแห้ง และนำไปทำผงแห้งด้วยวิธีการอบแห้งแบบพ่นฝอย ซึ่งผลิตภัณฑ์ผงเบต้าไซยานิน จากเปลือกแก้วมังกร มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ และสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบสารแต่งสีธรรมชาติทดแทนการใช้สีสังเคราะห์ในอาหารและเครื่องดื่ม ไม่มีรสชาติ กลิ่น ละลายน้ำได้ง่าย ให้สีชมพูอมม่วง ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ สอบถามได้ที่ คุณชุษณา เมฆโหรา ฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โทร. 0 2942 8629-35 (1607)

Read more

คอนกรีตพรุนจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ทดแทนปูนซีเมนต์ (จีโอโพลีเมอร์) โดย ผศ.ดร. ดวงฤดี ฉายสุวรรณ

คอนกรีตพรุนจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ทดแทนปูนซีเมนต์ (จีโอโพลีเมอร์) สามารถใช้ในการผลิตเป็นพื้นปูถนน พื้นลานจอดรถ โครงสร้างตกแต่งทางสถาปัตยกรรม ลดปัญหาน้ำท่วมขังบนผิวถนน สวนสาธารณะ หรือทางเดินเท้า ด้วยการใช้คอนกรีตพรุนที่น้ำสามารถซึมผ่านได้แทนที่วัสดุโครงสร้างพื้นตันแบบเก่า ทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์ โดยการใช้วัสดุชนิดจีโอโพลีเมอร์ นำวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรม มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอบถามได้ที่ ผศ.ดร. ดวงฤดี ฉายสุวรรณ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร 08-5112-9929

Read more

บล็อกซีเมนต์ขาว ผสมฟางข้าวเสริมลำไผ่ โดยดร.โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์ และทีมวิจัย

บล็อกซีเมนต์ขาวผสมฟางข้าวเสริมลำไผ่ เป็นวัสดุก่อผนังอาคารที่ประยุกต์มาจากภูมิปัญญาการก่อสร้างในอดีต (การปั้นดินกับโครงไม้) ให้มีความเหมาะสมและสะดวกต่อการใช้งานในปัจจุบันโดยการนำมาพัฒนาในรูปแบบของบล็อกคอนกรีตสำเร็จรูปตาม มอก.58-2533 ประเภทคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก มีส่วนผสมของวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ได้แก่ ฟางข้าวและไม้ไผ่ที่มีการประยุกต์ใช้ไม้ไผ่ทั้งลำเพื่อช่วยเสริมการรับแรงตามแนวตั้ง ช่วยลดน้ำหนัก และลดปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์และทราย ช่วยในการลดความร้อนเข้าสู่อาคารส่งผลต่อการลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งยังมีลักษณะพื้นผิวที่สวยงามตามธรรมชาติคล้ายหินอ่อน ติดต่อสอบถามได้ที่ ติดต่่อ ดร.โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์ นางสาววริษา สายะพันธ์ ศ.ดร. โจเซฟ เคดารี ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.02-942-8960-3 (ต่อ 308)

Read more