การเตรียมเส้นเชิงประกอบที่มีสมบัติพิเศษจากเม็ดพลาสติกชีวภาพ เพื่อใช้ในการพิมพ์สามมิติ

รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรัตน์ เลาห์บุตรี และคณะ
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ  คณะคณะวิศวกรรมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โทร. 08-9747-9154

Read more

พรมอัพไซเคิลจากขยะพลาสติก

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต
ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.0-2942-8960 ต่อ 305

Read more

เครื่องอัดกระทงใบตอง

เครื่องอัดกระทงใบตอง เป็นนวัตกรรมที่ใช้ผลิตบรรจุอาหารจากใบไม้ ที่เป็นวัสดุตามธรรมชาติ ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค ช่วยให้เกิดการคัดแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะชุมชน และนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย เครื่องอัดกระทงใบตอง สามารถนำไปใช้อัดขึ้นรูปภาชนะกระทงใบตองขนาด 15 เซนติเมตร โดยเจียนใบตองขนาด 20 เซนติเมตร วางซ้อนกัน 2 ชั้น และใช้กาวแป้งเปียกเป็นวัสดุประสานระหว่างชั้น มีฮีทเตอร์ขนาดประมาณ 2,000 วัตต์ ให้ความร้อนอัดขึ้นรูปใบตองหรือใบไม้ให้เป็นกระทง เพื่อใช้บรรจุอาหารทดแทนโฟมและพลาสติก ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและลดการปนเปื้อนสารเคมีจากภาชนะบรรจุอาหารลงสู่อาหารที่บริโภค ซึ่งเป็นกระทงใบตองที่ปราศจากวัสดุมีคม เช่น ไม้กลัด หรือลูกแม็กซเย็บกระทง และช่วยลดขั้นตอนการแยกวัสดุมีคมออกจากถ้วยใบตองเมื่อใช้บรรจุอาหาร ก่อนนำไปทำปุ๋ยหมัก สอบถามได้ที่ อาจารย์นงลักษณ์ เล็กรุ่งเรืองกิจ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน โทร. 0910219191

Read more

พลาสติกย่อยสลายได้จากแป้งกล้วย

พลาสติกย่อยสลายได้จากแป้งกล้วย โดยการนำวัสดุธรรมชาติภายในประเทศมาใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่รับประทานกันทั่วไป และเป็นพืชที่ปลูกง่ายในทุกภาคของประเทศ สามารถนำกล้วยน้ำว้าดิบมาผลิตเป็นแป้งกล้วย จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วย โดยนำแป้งกล้วยดิบและแป้งกล้วยดัดแปรด้วยวิธีครอสลิงแบบไดสตาร์ชฟอสเฟต (cross-linking method with distarch method) และส่วนประกอบอื่น ได้แก่ พลาสติไซเซอร์ และเส้นใยกาบกล้วยมามาเสริมความแข็งแรง รวมทั้งการนำพอลิแลกติกแอซิด (polylactic acid, PLA) เข้ามาร่วมเพื่อผลิตเป็นฟิล์ม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการแพร่ผ่านของไอน้ำ และเสริมความแข็งแรงให้กับวัสดุบรรจุภัณฑ์ สามารถนำไปผลิตเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร และผักผลไม้ ทดแทนบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกสังเคราะห์ได้ เนื่องจากเป็นบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ ติดต่อได้ที่ รศ.ดร. รังสินี โสธรวิทย์ และทีมวิจัยภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Read more

ศักยภาพของจุลินทรีย์ในการย่อยขยะพลาสติก

ขยะพลาสติกย่อยสลายได้ยาก จึงคงค้างอยู่ในระบบนิเวศเป็นระยะเวลานาน รศ.ดร.วิไล เจียมไชยศรี แห่งภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาการย่อยสลายทางชีวภาพที่จะกระตุ้นการย่อยสลายขยะพลาสติก เพื่อเป็นข้อมูลที่จะใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาหลุมฝังกลบขยะมูลฝอย เพื่อลดปัญหาการตกค้างของขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม

Read more