ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม : สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด | KURDI NEWS

ปัจจุบันพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ลดน้อยลง สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด คณะวนศาสตร์ จังหวัดตราด ร่วมมือกับชาวบ้านในพื้นที่ฟื้นฟูป่า ทำให้ชาวบ้านและเกษตรกรใกล้เคียงรู้จักหวงแหนพื้นที่ป่าและร่วมมือกันปลูกต้นไม้ อนุรักษ์ป่า ไม่ทำการเกษตรบุกรุกพื้นที่ป่า นายอนุชา ทะรา: หัวหน้าสถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Read more

การจัดการพื้นที่เขตกันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า EP.1 โดย ผศ.ดร.นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  โครงการวิจัย การจัดการถิ่นที่อาศัยสัตว์ป่ากินพืชขนาดใหญ่ในประเทศไทย: การพัฒนาแปลงพืชอาหารสัตว์ป่า ในพื้นที่กันชนมรดกโลกห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี สนับสนุนงบประมาณการวิจัยโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) United Nations Development Programme – UNDP งานวิจัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริมนโยบายของรัฐในการจัดการพื้นที่กันชน ณ พื้นที่เตรียมการกำหนดเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ จังหวัดอุทัยธานี สนับสนุนงบประมาณการวิจัยโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

Read more

สวพ.มก. เยี่ยมชมติดตาม ผลงานวิจัย “การศึกษาระบบการทำไม้เพื่อการจัดการสวนป่าสักอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา จังหวัดแพร่”

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เยี่ยมชมติดตามความก้าวหน้าผลงานวิจัย “การศึกษาระบบการทำไม้เพื่อการจัดการสวนป่าสักอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา จังหวัดแพร่” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2560-2561 และคณะผู้วิจัยขอขอบคุณองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ศึกษา หัวหน้าสวนป่าตลอดจนบุคลากรที่อำนวยความสะดวกมาตลอด ณ สวนป่าขุนแม่คำมี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

Read more

การกักเก็บคาร์บอนและการประเมินผลประโยชน์ร่วมของพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าเศรษฐกิจ ณ สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

เนื่องจากป่าไม้มีบทบาทสำคัญต่อสมดุลของคาร์บอนในโลก โดยเป็นทั้งแหล่งกักเก็บและแหล่งปลดปล่อยคาร์บอนทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ซึ่งระบบนิเวศป่าไม้มีการสะสมคาร์บอนอยู่ทั้งในส่วนของต้นไม้และดินผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช การหายใจของสิ่งมีชีวิต และการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนที่สะสมอยู่ในต้นไม้และดินนั้น IPCC (2006) ได้กำหนดแหล่งสะสมคาร์บอนในสภาพธรรมชาติออกเป็น 5 แหล่ง ได้แก่ แหล่งสะสมคาร์บอนเหนือดิน แหล่งสะสมคาร์บอนใต้ดิน แหล่งสะสมคาร์บอนในไม้ยืนต้นตาย แหล่งสะสมคาร์บอนของซากพืช และแหล่งสะสมคาร์บอนในดิน แต่ในขณะเดียวกันศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของป่าธรรมชาติมีความผันแปรขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดป่า

Read more

รายการวิทยุ เรื่อง “วนเกษตร” กลยุทธ์การใช้ที่ดินเพื่อสู้ภัยแล้งของการเกษตรไทย /ณัฐวัฒน์ คลังทรัพย์

พบกับนักวิจัยมากความสามารถเจ้าของผลงาน “วนเกษตร” กลยุทธ์การใช้ที่ดินเพื่อสู้ภัยแล้งของการเกษตรไทย คือ คุณณัฐวัฒน์ คลังทรัพย์ นักวิจัยชำนาญการ สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และยังดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

Read more