เรือพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อการท่องเที่ยว

เรือพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อการท่องเที่ยว โดยการสร้างเรือต้นแบบพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำในกทม. ซึ่งใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) ในการขับเคลื่อน ปราศจากเสียงรบกวนไม่ก่อมลภาวะทางเสียงและคลื่น ควันไอเสีย และลดปริมาณการใช้น้ำมัน ซึ่งจุดเด่นของเรือสามารถชาร์ตไฟบ้าน ในกรณีไม่มีแสงแดด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ แก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ที่เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อการท่องเที่ยวทางน้ำในรูปแบบใหม่ สอบถามได้ที่ ผศ.ดร.ยอดชาย เตียเปิ้น คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ วิทยาเขตศรีราชา และอาจารย์เกวลิน มะลิ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โทร.0 3835 4850

Read more

ระบบเบ๊บซี เอ็นเซฟไลฟ(BEBC En SAFE Life System)

รศ.ดร.อรสา สุกสว่าง จากภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอนวัตกรรม “ระบบเบ๊บซี เอ็นเซฟไลฟ์ (BEBC En SAFE Life System)” ซึ่งเป็นระบบที่เชื่อมโยงปัญหาด้านพลังงาน ดินเสื่อม ความยากจน ภาวะโลกร้อนจากภาคการเกษตรที่เกิดจากการเผาขยะชีวมวล การใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงในแปลงเกษตรกรรม เป็นโครงสร้างอยู่ในระบบเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกันไปพร้อมๆกันในเวลาเดียวกันได้

Read more

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “รักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้กำหนดจัดงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “รักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ห้องประชุมแกรนด์ฮอลล์ โรงแรมโกลเด้น บีช ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาฯ ภายในวันศุก์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ได้ทาง

Read more

กรมควบคุมโรคขอเชิญส่งผลงานเพื่อนำเสนอในการประชุมวิชาการด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 8 และการประชุมวิชาการนานาชาติด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1

กรมควบคุมโรค กำหนดจัดการประชุมวิชาการด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 8 และการประชุมวิชาการนานาชาติด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1  ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://envocc.ddc.moph.go.th  สอบถามเพิ่มเติม ;

Read more

สวพ.มก. จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “การประเมินด้านพิษวิทยานิเวศโดยการใช้วิธีการทางชีววิทยากับวิธีทางเคมี:กรอบงานในการค้นคว้าวิจัยทางสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่น

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝ่ายประสานงานวิจัยและประเมินผล จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “การประเมินด้านพิษวิทยานิเวศโดยการใช้วิธีการทางชีววิทยากับวิธีทางเคมี:กรอบงานในการค้นคว้าวิจัยทางสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่น (Ecotoxicological assessment combining biological and chemical approaches: a framework for undertaking salient environmental research investigations)

Read more

ผลตกค้างของยาฆ่าแมลงในขนเป็ดและไข่เป็ด

ดร. พรรณวิมล ตันหัน อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาผลการตกค้างสะสมของยาฆ่าแมลงในกลุ่มออร์กาโนคลอรีน 20 ชนิด และโลหะหนักในดิน น้ำ และใช้ขนเป็ด และไข่เป็ด เป็นตัวดัชนีชี้วัดทางชีวภาพในการตรวจสอบการตกค้างยาฆ่าแมลงเหล่านี้ เนื่องจากนกหรือสัตว์ปีกสามารถขับของเสียออกจากร่างกายโดยการสะสมไว้ที่ขน

Read more

ขอเชิญร่วมการประชุมวิชาการ เรื่องการป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 7

กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม จะจัดการประชุมวิชาการเรื่อง การป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ระว่างวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพฯ  ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมประชุมวิชาการเรื่องดังกล่าว โดยผู้นำเสนอผลงานวิชการเบิกค่าใช้จ่ายจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และสามารถส่งแบบแจ้งความประสงค์เข้าร่วมประชุมวิชาการ และแบบแจ้งความประสงค์การนำเสนอผลงานวิชาการ ภายในวันที่ 9 มกราคม 2558 

Read more

แนวทางการประเมินความเสี่ยงของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ฉบับปรับปรุงล่าสุดเป็นภาษาไทย (กรกฎาคม 2555)

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทําแนวทางการประเมินความเสี่ยงของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมฉบับปรับปรุงล่าสุด (กรกฎาคม 2555) เป็นภาษาไทย โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก รศ. ดร.บรรพต ณ ป้อมเพชร ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ในการแปลเอกสารทั้งฉบับ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนัก ในเรื่อง การประเมินความเสี่ยงของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมภายใต้บริบทของพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาสมรรถนะการดําเนินงานด้านการประเมินความเสี่ยงให้กับบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดาวน์โหลด แนวทางการประเมินความเสี่ยงของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

Read more