การใช้ผงครั่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพสีในผลิตภัณฑ์แหนม

นักวิจัย ม.เกษตร ปรับปรุงวิธีการผลิตแหนมให้มีสีสวยน่ารับประทาน  และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ ด้วยการใช้สีแดงจากครั่ง  แทนการใช้เกลือโซเดียมไนไตรท์ หรือผงเพรกที่ให้สีแดงจากสารเคมี และปัจจุบันได้พัฒนาต่อยอดกระบวนการผลิตเพิ่มเติม โดยปรับจากการใช้สีจากน้ำครั่งมาผลิตเป็นผงครั่งสำเร็จรูปเพื่อความสะดวก รวดเร็วสำหรับการผลิตแหนมในเชิงพาณิชย์ ครั่ง (Lac) เป็นผลิตผลจากตัวแมลงครั่ง (Coccus lacca) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชอยู่ในจำพวกเดียวกับเพลี้ย แมลงครั่งจะเกาะอยู่ตามกิ่งไม้และใช้งวงปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงของต้นไม้เป็นอาหาร  ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโต  แมลงครั่งจะขับสารชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะนิ่มเหนียวสีเหลืองทองเป็นยางหรือชันออกมาสร้างเป็นรังห่อหุ้มป้องกันตัวเองจากศัตรู สารที่ขับออกมานี้เมื่อถูกอากาศนานเข้าจะแข็งและมีสีม่วงแดง 

Read more

แหนมสีแดงจากสีนํ้าครั่ง

จากคุณสมบัติที่ได้จากครั่ง นายวิรัตน์ สุมน นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ และนางสาวทิพย์มนต์ ใยเกษ นางณัฏยาพร สุมน เจ้าหน้าที่สัตวบาล จากสถานีวิจัยทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการศึกษา ปรับปรุงการผลิตแหนมที่แปรรูปจากเนื้อสุกรขุน ให้มีสีสวยน่ารับประทานและมีความปลอดภัยในการบริโภค โดยไม่ใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือโซเดียมไนไตรท์ หรือผงเพรกที่ให้สีแดงจากสารเคมี จนได้สูตรการผลิตแหนมสีสวยด้วยการใช้สารสีแดงจากน้ำครั่งทดแทนการใช้สารเคมี

Read more

ผลิตภัณฑ์แหนมเสริมสารสีแดงจากนํ้าครั่ง

นายวิรัตน์ สุมน นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ สถานีวิจัยทับกวาง ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ผศ.ดร.ศศิธร นาคทอง อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร และนางณัฏยาพร สุมน เจ้าหน้าที่สัตวบาล จากสถานีวิจัยทับกวาง ได้ทำการศึกษา ปรับปรุงการผลิตแหนมที่แปรรูปจากเนื้อสุกรขุน ให้มีสีสวยน่ารับประทานและมีความปลอดภัยในการบริโภค โดยไม่ใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือโซเดียมไนไตรท์ หรือผงเพรกที่ให้สีแดงจากสารเคมี จนได้สูตรการผลิตแหนมสีสวยด้วยการใช้สารสีแดงจากน้ำครั่งทดแทนการใช้สารเคมี

Read more