ประกาศรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สังกัดฝ่ายบริหารงานวิจัยและประเมินผล จำนวน 1 อัตรา

ด้วย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ป.ตรี) สังกัด ฝ่ายบริหารงานวิจัยและประเมินผล สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา อัตราค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทั้งนี้ หากไม่ได้รับคุณวุฒิทางคอมพิวเตอร์ หรือทางสารสนเทศ

Read more

สวพ.มก. ร่วมแสดงความยินดีวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มก. ครบรอบ 55 ปี

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 55 ปี  และขอแสดงความยินดีแก่อาจารย์ นักวิจัยที่ได้รับรางวัลในพิธีมอบรางวัลคณะวิทยาศาสตร์  วันที่ 9 มีนาคม 2564 ณ อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ

Read more

สวพ.มก. จัดอบรมฯ “การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย”

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางการวิจัยได้แนวทางในการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการประเมินผลกระทบจากงานวิจัย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด และห้องประชุมไพลิน ชั้น 3

Read more

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. ร่วมแสดงพลัง KU-nity

ผศ.ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมบุคลากร แสดงพลัง KU-nity เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2563 นั้น ประกอบกับการครบรอบ 5 ปี ของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2558

Read more

โครงการรางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ด้วยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดให้มีโครงการรางวัลผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน สร้างกำลังใจ และแรงจูงใจแก่อาจารย์ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง คณะกรรมการพิจารณารางวัลผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงขอแจ้งให้อาจารย์ นักวิจัยที่มีผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ตั้งแต่ พ.ศ.2550 – ปัจจุบัน) สมัครขอรับการพิจารณารางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยกรอกใบสมัครด้วยการพิมพ์ และส่งไฟล์ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ .doc ไปที่ E-mail:

Read more

เห็ดกินได้ในป่าธรรมชาติ

นักวิจัย ม.เกษตร ทำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดกินได้และศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อผลิตผลของเห็ดกินได้ในป่าธรรมชาติ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เป็นแปลงสาธิตการเพาะเห็ดป่ากินได้ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์บนพื้นฐานของศักยภาพทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดระดับชุมชน และเพิ่มพูนทางเศรษฐกิจระดับชุมชนจากการเก็บผลผลิตของเห็ดป่า เห็ด มีความสำคัญในการย่อยสลายอินทรียสารให้เป็นแร่ธาตุ นอกจากประโยชน์มีต่อระบบนิเวศแล้ว เห็ดป่าหลายชนิดยังเป็นเห็ดที่กินได้และบางชนิดมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ปัจจัยแวดล้อมหลายปัจจัยยังที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการเกิดของเห็ด ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณของเห็ดในแต่ละปีได้ ดร.ธารรัตน์  แก้วกระจ่าง ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการทำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดกินได้และศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อผลิตผลของเห็ดกินได้ในป่าธรรมชาติ  จากการสำรวจเห็ดกินได้ในป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งบริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา

Read more

ไส้ขนมไทยจากมันสำปะหลังชนิดผง

โดย นางสาวพิศมัย ศรีชาเยช
ฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

Read more

ลูกชิ้นหมูเสริมใยอาหารจากกากข้าวโพด

โดย นางสาวสุวีณา จันทพิรักษ์ และทีมวิจัย
ฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Read more

การเก็บรักษามะขามเปียกเพื่อการส่งออก

โดย รศ.ดร.สุรัสวดี พรหมอยู่
ภาควิชาเกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร
วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

Read more

แอพพลิเคชันเพื่อการเกษตร ยุค 4.0

ในโลกยุคปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีต่างๆที่พัฒนาไปอย่างมาก เกษตรกรไทยจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำการเกษตรแบบใหม่ที่ตอบรับกับเทคโนโลยีในยุค 4.0 เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพและตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งการผลิตด้านการเกษตรแนวใหม่มีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้วยระบบข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดเขตต์ นาคะเสถียร และคณะ จากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชันทางการเกษตรเกี่ยวกับพืช สัตว์เศรษฐกิจ และการจัดการด้านการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลมากกว่าการใช้ประสบการณ์ในการผลิตด้านการเกษตร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต

Read more