การใช้ไฟ LED สีต่างๆ เพื่อล่อปลาหมึกหอม/จรวย สุขแสงจันทร์

เรื่อง การใช้ไฟ LED สีต่างๆ เพื่อล่อปลาหมึกหอม

ประเทศไทยมีการทำประมงโดยการอาศัยแสงไฟมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งในอดีตประมาณ 30–40 ปีที่ผ่านมา ของการทำประมงโดยกยารใช้แสงไฟล่อสัตว์น้ำ ชาวประมงนิยมใช้ตะเกียงแก๊สอะแซสทิลีน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นตะเกียงอัดลมโดยใช้น้ำมันก๊าด หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ตะเกียงจ้าวพายุ ซึ่งตะเกียงดังกล่าวมีกำลังส่องสว่างถึง 500 วัตต์ และในยุคต่อมาได้มีการนำเอาเครื่องปั่นไฟไปติดตั้งในเรือและได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน

ปลาหมึกจัดเป็นสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในโลกมานานกว่า 500 ล้านปี ได้มาจากการศึกษาซากหรือ Fossil นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงที่สุดในกลุ่มสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง สมองของปลาหมึกเมื่อนำไปเทียบกับสัดส่วนร่างกายแล้วจะมีขนาดใกล้เคียงกับสมองมนุษย์เลยทีเดียวครับ และยังมีระบบประสาทที่เจริญ มีดวงตาที่มีลักษณะเช่นเดียวกับดวงตาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำให้ปลาหมึกสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆได้ดี เพราะตาของปลาหมึกมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับตาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่ประกอบไปด้วย ม่านตา และจอรับภาพ โดยจะมีเฉพาะดวงตาของหมึกสายเท่านั้นที่มี กระจกตา ส่วนดวงตาของหมึกกล้วย หมึกกระดอง ฯลฯ จะไม่พบกระจกตา และดวงตาของปลาหมึกพวกนี้จะสัมผัสกับน้ำทะเลโดยตรง รูม่านตาของปลาหมึกแต่ละชนิดจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น ปลาหมึกสาย รูม่านตาจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม หมึกกระดองรูม่านตาเป็นรูป W-shape หมึกกล้วยรูม่ายตาจะมีลักษณะกลมและดวงตาของหอยงวงช้าง สัตว์ที่มีความใกล้เคียงปลาหมึก จัดว่ามีพัฒาการที่ต่ำที่สุด เนื่องจากมันไม่มีเลนส์และมีรูม่านตาที่มีขนาดเล็กมากเพียง 1-2 มิลลิเมตร ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรับแสงเพียงเท่านั้น แต่การมองเห็นภาพจะไม่ค่อยดีมากนัก

สรุปผลของการวิจัย การศึกษาการเข้าหาแสงไฟจากหลอด LED ของหมึกหอม ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาในบ่อกระจกห้องปฏิบัติการภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คระประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการศึกษาในบ่อทดลองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 5 เมตร ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ซึ่งในการศึกษาในบ่อกระจกห้องปฏิบัติการภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตร สามารถแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ คือ การศึกษาทางด้านพฤติกรรมที่แสดงออกของหมึกหอม และการศึกษาอัตราการเข้าหาแสงไฟของหมึกหอมแบ่งตามเพศ สีของแสงไฟรวมทั้งระยะเวลา จากการทดลองได้พบว่า หมึกหอมมีการแสดงพฤติกรรมระหว่างการศึกษาแบ่งออกได้ เป็น 6 แบบ ด้วยกัน ได้แก่

  1. หมึกหอมไม่ว่ายน้ำเข้าหาแสงแต่จะลอยตัวอยู่ระหว่างแสงไฟโดยหันหน้าไปทางแสงไฟสีใดสีหนึ่ง ส่วนท้ายของลำตัวอยู่ใกล้กับพื้นตู้ทดลอง ลำตัวเอียงทำมุมประมาณ 50 องศากับพื้นตู้ หนวดทุกเส้นรวบเข้าหากันไม่ม้วนง้อและชี้ไปทางด้านหน้า มีการขยับครีบเร็วปานกลางเพื่อพยุงให้ตัวลอยอยู่ได้ปลายท่อพ่นน้ำชี้ไปทางด้านท้ายของลำตัว และอาจปรับทิศทางของปลายท่อพ่นน้ำเล็กน้อยเพื่อให้ลำตัวอยู่นิ่งๆ
  2. หมึกหอมลอยตัวอยู่นิ่งๆ บริเวณท้ายลำตัวใกล้กับพื้นเอียงทำมุมประมาณ 40 องศากับพื้น มีการขยับครีบช้าๆ เพื่อช่วยในการพยุงตัว ปลายหนวดทุกเส้นห้อยลงด้านล่าง ปลายท่อพ่นน้ำชี้ไปทางด้านท้ายของลำตัวเกือบตลอดเวลาครับ
  3. หมึกหอมลอยตัวอยู่นิ่งๆ แต่บริเวณด้านท้ายของลำตัว เฉียงขึ้นทำมุมประมาณ 30 องศา มีการขยับครีบไป – มา ช้าๆ เพื่อช่วยในการพยุงตัว หนวดทุกเส้นคดง้อเล็กน้อย แต่ไม่ห้อยลงเหมือนแบบที่ 1 หนวดคู่ที่ 4 แตะกับพื้นตู้เกือบตลอดเวลา ปลายท่อพ่นน้ำชี้ไปทางด้านหน้าและขยับไป – มาเล็กน้อย เพื่อช่วยพ่นน้ำให้ตัวสามารถพยุงอยู่ได้
  4. หมึกหอมลอยตัวอยู่นิ่งๆ หรือว่ายน้ำเล็กน้อย รูปแบบคล้ายคลึงกับแบบที่หนึ่ง คือส่วนท้ายของลำตัวอยู่ใกล้กับพื้นตู้ทดลอง ตัวเอียงทำมุมประมาณ 40 องศา มีการขยับครีบเร็วกว่าแบบที่ 1 ปลายหนวดทุกเส้นม้วนขดเป็นวง โดยปลายหนวดคู่ที่ 1 จะม้วนขดเป็นวงและชูขึ้น ส่วนปลายหนวดคู่ที่ 2 3 และ4 ม้วนขดเป็นวงและตกลงด้านล่าง ปลายท่อพ่นน้ำชี้ไปทางด้านท้ายเกือบตลอดเวลา
  5. หมึกหอมลอยตัวอยู่นิ่งๆ ส่วนหัวเฉียงลงอยู่ใกล้กับพื้นตู้ทดลองเอียงทำมุมประมาณ 30 องศา มีการขยับครีบ ไป – มา อย่างช้าๆ ปลายหนวดทุกเส้นโค้งงอ และชูขึ้นด้านบน ปลายท่อพ่นน้ำชี้ไปทางด้านหน้า
  6. หมึกหอมอยู่ใกล้กับพื้นมาก ลำตัวเอียงทำมุมประมาณ 40 องศากับพื้นตู้ หนวดทุกเส้นอยู่ติดกับพื้นตู้ โดยเฉพาะหนวดคู่ที่ 4 เหมือนกับถูกวางไว้บนพื้นตู้ทดลอง ปลายหนวดทุกเส้นม้วนงอเล็กน้อย ปลายท่อพ่นน้ำชี้ไปทางด้านหน้าเพื่อช่วยพ่นน้ำให้ตัวสามารถลอยอยู่ได้

อัตราการเข้าหาแสงไฟของปลาหมึกหอมในตู้กระจกขนาด 100x200x30 เซนติเมตร ผลการทดสอบทางสถิติพบว่า เพศไม่มีผลต่อการเข้ายหาแสงไฟจากหลอด LED อีกทั้งเพศของหมึกหอมก็ไม่มีผลต่อระยะเวลาที่เข้าไปอยู่ในแสงไฟแสงสีต่างๆเช่นกัน แต่จากการทดสอบทางสถิติได้พบอีกว่า แสงสีแดงจากหลอด LED มีผลที่แตกต่างจากหลอดไฟ LED สีอื่นๆในทางลบ เพราะจากการศึกษาการเข้าลอบประกอบแสงไฟจากหลอด LED แสงสีต่างๆ ในบ่อทดลองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 5 เมตร ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยฝั่งตะวันออก พบว่าเพศ ไม่มีผลต่อระยะเวลา และเพศไม่มีผลต่อสีของหลอดไฟ LED อีกทั้งระยะเวลาที่ปลาหมมึกเข้าลอบต่อสีของหลอดไฟ กร็ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามจะพบจำนวนครั้งที่หมึกหอมเข้าหาแสงไฟและเข้าลอบจะเข้าแสงสีแดงน้อยกว่าสีอื่นๆ และจากการศึกษาที่ค้นคว้าของนักวิจัย พบว่า การประมงปลาหมึกด้วยแสงไฟ ปลาหมึกจะรวมกลุ่มกันอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ 20-60 เมตร โดยปลาหมึกจะเข้าไปอยู่ในบริเวณใกล้กับท้องเรือหรือบบริเวณที่มีแสงสลัว และทดสอบการเข้าหาสีของแสงไฟ พบได้ว่าสีเขียวและสีน้ำเงินสามารถดึงดูดให้ปลาหมึกรวมกลุ่มกันได้ดีในที่น้ำลึก ซึ่งได้สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ Kawamura (1968) ที่กล่าวมาว่า ความเข้มของแสงมากๆบริเวณใกล้ลำเรือไม่มีประโยชน์ในการดึงดูดปลาหมึกนั้นเอง และอีกอย่างหนึ่งนะครับ ปลาหมึกจะว่ายน้ำอยู่ในบริเวณที่มีแสงไฟสลัว เพื่อจับกินเหยื่อเป็นอาหารได้ เนื่องจากปลาหมึกสามารถปรับการมองเห็นได้ดี

ข้อเสนอแนะที่นักวิจัยให้มา คือ ควรมีการเตรียมตัวอย่างปลาหมึกหอมให้มากพอ เนื่องจากระหว่างการทดลองตัวอย่างปลาหมึกหอมบางส่วนอาจบอบช้ำจากการขนส่ง มีอาการเครียดและตายได้ อาจทำให้มีการกระทบต่อการทดลองได้ และในระหว่างการทดลองควรมีการรบกวนปลาหมึกหอมให้น้อยที่สุด อย่างเช่น ไม่เข้าไปใกล้บริเวณขอบบ่อทดลอง เพราะอาจทำให้ปลาหมึกเกิดอาการตื่นกลัวได้ บริเวณที่ใช้ทดลองมีแสงไฟจากแสงไฟฟ้ารบกวน ถึงแม้จะมีการใช้ผ้าดำคลุมบ่ออย่างมมิดชิดแล้วก็ตาม จากบนั้นให้สังเกตพฤติกรรมหรือการเข้าลอบของปลาหมึกหอมกระทำได้ยาก จึงควรมนีการติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกหรือถ่ายภาพในที่มืดได้ และสามารถคำนวณเวลาการเข้าลอบที่ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น จากนั้นควรมีการทดลองในจำนวนซ้ำๆที่มากพอ และนำไปทดสอบจริงในธรรมชาติ โยติดตั้งหลอดไฟ LED สีต่างๆ ที่ลอบๆละ 1 สี เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้จริงต่อไป

เรียบเรียงโดย

วิทวัส ยุทธโกศา นักวิชาการโสตทัศนศึกษา สวพ.มก. 
โทรศัพท์ 0-2561-1474