KUKM060 มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ทีใช้ใบเป็นอาหารสัตว์

คุณค่าของใบมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ทีใช้ใบเป็นอาหารสัตว์ สร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร

มันสำปะหลัง พืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนแล้ง ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากส่วนที่อยู่ใต้ดินของต้นมันสำปะหลัง คือหัวมันสำปะหลังเป็นหลัก  แต่การปลูกมันสำปะหลังเพื่อขายผลผลิตหัวมันสดค่อนข้างแปรปรวนและมักถูกกดราคา อีกทางเลือกแทนการขายหัวมันสำปะหลังแล้วยังมีใบมันสำปะหลังที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยขายเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารสัตว์ ใบมันสำปะหลังมีคุณค่าโปรตีนสูงกว่าหัวมัน ใบมันสำปะหลังแห้งมีโปรตีนสูงประมาณ 20-29 %  แม้ว่าใบมันสำปะหลังจะมีสารพิษสำคัญ คือ สารไซยาไนด์ซึ่งจะอยู่ในรูปของกรดไฮโดรไซยานิค (HCN) และสารแทนนินในปริมาณสูง  แต่เมื่อตากแห้งแล้วสารพิษจะสลายตัวเหลืออยู่ในระดับต่ำจนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ และกรดไฮโดรไซยานินระดับต่ำกลับช่วยกระตุ้นให้เกิดระบบที่ทำให้สัตว์มีความต้านทานต่อโรคเพิ่มขึ้น และสารแทนนินระดับต่ำสามารถช่วยควบคุมพยาธิในตัวสัตว์ได้  นอกจากนั้นใบมันสำปะหลังยังเป็นแหล่งของวิตามินเอ แคโรทีน และสารสีแซนโทรฟิลล์ ให้กับสัตว์ โดยมีปริมาณประมาณ 660 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สูงกว่าที่มีในใบกระถินแห้งที่มีประมาณ 318 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ แต่เมื่อตากแห้งแล้วสารพิษจะสลายตัวเหลืออยู่ในระดับต่ำมาก ไม่ส่งผลเป็นพิษเมื่อนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์ กรดไฮโดรไซยานิคกลับช่วยกระตุ้นให้เกิดระบบที่ทำให้สัตว์มีความต้านทานต่อโรคเพิ่มขึ้น และสารแทนนินระดับต่ำสามารถช่วยควบคุมพยาธิในตัวสัตว์ได้ด้วย  นอกจากนั้นใบมันสำปะหลังยังเป็นแหล่งของวิตามินเอ แคโรทีน และสารสีแซนโทรฟิลล์ ให้กับสัตว์ โดยมีปริมาณประมาณ 660 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สูงกว่าที่มีในใบกระถินที่มีประมาณ 318 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นอกจากนั้น การปลูกมันสำปะหลังเพื่อเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลังเป็นหลักจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น เพราะหนึ่งรอบการผลิตต้องใช้เวลาปลูกอย่างน้อย 8-12 เดือน  ในขณะที่การตัดใบมันสำปะหลังขายเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ สามารถขายได้ปีละหลายรอบ จากงานวิจัยพบว่า สามารถตัดที่ 2.5-3 เดือนหลังปลูกและห่างกัน 2-3 เดือน รวมประมาณ 3-4 ครั้ง/ปี จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง

ดังนั้นหากต้องการให้เกษตรกรสร้างรายได้เสริมจากการใช้ประโยชน์ใบมันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ จึงควรมุ่งเน้นการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อให้ใบมีปริมาณไซยาไนด์ต่ำ และมีปริมาณโปรตีนสูงเพื่อทดแทนอาหารสัตว์อื่น เช่น กากถั่วเหลือง ข้าวโพด ที่มีราคาแพงได้

  

นายธีระ สมหวัง นักวิจัยชำนาญการพิเศษ ร่วมกับคณะผู้วิจัย จากสถานีวิจัยเขาหินซ้อน ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เห็นความสำคัญในการที่จะปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตและคุณภาพใบสูง  โดยให้ใบมีปริมาณไซยาไนด์ต่ำ และมีปริมาณโปรตีนสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปปลูกต่อไป

ขั้นตอนดำเนินการปรับปรุงพันธุ์

นำเมล็ดมันสำปะหลังที่ได้จากการผสมพันธุ์ของโครงการวิจัยและพัฒนามันสำปะหลังแบบยั่งยืน(นายสกล ฉายศรี) มาปลูกคัดเลือก จำนวน 70 พันธุ์ ที่สถานีวิจัยเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน 2552 โดยใช้พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ เก็บข้อมูลทางสรีรวิทยา เช่นจำนวนใบย่อย ความสูงต้น จำนวนหัว/ตัน เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลการวิเคราะหืโปรตีนในใบ สารไซยาไนด์ในใบ ผลผลิตใบ ผลผลิตหัวสด ดัชนีการเก็บเกี่ยว และเปอร์เซ็นแป้งในหัว

 

 ผลจากการดำเนินการคัดเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังที่ให้ผลผลิตและคุณภาพของใบที่ดีที่สุด KUKM 060 มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ทีใช้ใบเป็นอาหารสัตว์ พร้อมที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูก

คุณสมบัติของพันธุ์

มีความสูงเฉลี่ย 165 เซ็นติเมตร ลักษณะสี ยอดอ่อนสีเขียวอ่อน ก้านใบ โคนขาว ปลายแดง ลำต้นอ่อนสีเขียวอมเหลือง ลำต้นแก่ สีน้ำตาลแดง มีขนเล็กน้อยที่บริเวณยอด ลักษณะใบเป็นแบบ Linear ใบสีเขียวเข้ม จำนวนใบย่อย ประมาณ 6-8 ใบ มีการแตกกิ่ง ประมาณ 2-7 กิ่ ระดับการเป็นโรคอยู่ระดับ 1 (เกิดโรค < 20 %)  ปริมาณไซยาไนด์ในใบ 231 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  ปริมาณโปรตีนในใบประมาณ 25.76 %

ขอขอบคุณที่ท่านเข้ามาอ่านบทความวิจัยนี้ และขอความกรุณาสละเวลาตอบแบบสอบถามการให้บริการข้อมูล เพื่อการปรับปรุงต่อไปด้วย จะขอบคุณยิ่ง  

คลิกที่นี่เพื่อตอบแบบสอบถาม> https://goo.gl/forms/hcBXc1080pJmdUmF3

 

ที่มาข้อมูล : โครงการวิจัยทุนอุดหนุนวิจัย มก. และ    

นิทรรศการผลงานนวัตกรรม งานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2560

                    ศาสตร์แห่งแผ่นดิน ทำกินตามคำพ่อสอน  27 ม.ค – 4 ก.พ. 2560

เจ้าของผลงาน  : นายธีระ สมหวัง  และคณะวิจัย

สถานีวิจัยเขาหินซ้อน

ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

คณะเกษตร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรื่อง/สื่อเผยแพร่  : ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย

                      สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

                      โทร. 02 561 1474

          e-mail : rdiwan@ku.ac.th

นายธีระ สมหวัง