ศักยภาพการปลูกถั่วกัวร์ในประเทศไทย


 2

ถั่วกัวร์(guar bean) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cyamopsis Tetragonalobus เป็นพืชตระกูลถั่วอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญกับอุตสาหกรรมอาหารด้วยคุณสมบัติการเป็นสารเพิ่มความหนืด สร้างเจลและเพิ่มเนื้อสัมผัสเพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์อาหารมีรูปทรงดูดีและมีรสชาติที่ดีขึ้น สารสำคัญของถั่วกัวร์อยู่ในเนื้อในเมล็ด (endosperm) ใช้ผลิตสารตั้งต้นให้เกิดเจลที่รู้จักทั่วไปว่า กัวร์กัม (guar gum) ซึ่งผลิตได้จากเนื้อในเมล็ดถั่วกัวร์ เป็นใยอาหารชนิดผงที่ละลายน้ำได้ดี ใช้เป็นสารเพิ่มความคงคัว ช่วยให้เกิดความข้นในขนมหวาน ซอส ซุป ไอศกรีม น้ำสลัด ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารแช่แข็ง ช่วยควบคุมหรือป้องกันการเกิดการเยิ้ม ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพราะเป็นถั่วที่ให้แคลอรี่ต่ำ ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดและลดระดับคลอเรสเตอรอล และแป้งของถั่วกัวร์มีไฟเบอร์เป็นประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ฝักสดของถั่วกัวร์ใช้รับประทานเป็นผักสดได้ นอกจากนั้น ยังมีความต้องการใช้กัวร์กัมในอุตสาหกรรมการทำกระดาษ สิ่งทอ และการขุดเจาะในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จะใช้กัวร์กัมเป็นสารหล่อลื่นในหัวเจาะเหมือนจาระบีได้ด้วย

ในอนาคตคาดว่าความต้องการใช้กัวร์กัมในอุตสาหกรรมอาหารรวมทั้งอุตสาหกรรมขุดเจาะปิโตรเลียมจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยเองก็มีการนำเข้ากัวร์กัมปีละกว่า 300 ล้านบาท เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ขณะที่ผลผลิตถั่วกัวร์ทั่วโลกมีอยู่ไม่ถึง 1 ล้านตันต่อปี โดย 80% เป็นผลผลิตที่ได้จากประเทศอินเดีย ที่เหลือเป็นผลผลิตของประเทศปากีสถาน เป็นสองประเทศที่มีการปลูกถั่วกัวร์อย่างแพร่หลาย แต่ส่วนใหญ่ถูกใช้บริโภคในประเทศเป็นหลัก

ถั่วกัวร์ เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดี ในพื้นที่ที่มีดินระบายน้ำดี ชอบแสงแดดจัด และเป็นพืชที่ค่อนข้างทนแล้งใช้ปริมาณน้ำน้อยแต่ต้องไม่ทิ้งช่วงนาน ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้พบได้ในหลายพื้นที่ในประเทศไทย ดังนั้น นางสาวระวิวรรณ โชติพันธ์ นักวิจัยจากสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร คณะเกษตร กำแพงแสนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เห็นว่าประเทศไทยมีพื้นที่มีศักยภาพในการปลูกถั่วกัวร์ได้ จึงได้ทำการทดสอบการปลูกถั่วกัวร์ด้วยเห็นว่าเป็นพืชที่มีศักยภาพเป็นพืชเศรษฐกิจดังเช่นถั่วเหลือง ถั่วเขียวได้ เพื่อลดการนำเข้าการใช้กัวร์กัมในอุตสาหกรรมอาหาร  หรือใช้พัฒนาในรูปแบบเป็นสารหล่อลื่นที่ใช้งานเฉพาะด้านเพื่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี

การศึกษาศักยภาพการปลูกถั่วกัวร์ เริ่มตั้งแต่ปี 2554 ได้มีการนำเมล็ดพันธุ์ถั่วกัวร์พันธุ์ไม่ไวแสงมาจากประเทศอินเดีย มาทดลองปลูกในพื้นที่สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำการศึกษาศักยภาพเชิงเศรษฐกิจของถั่วกัวร์ ที่ปลูกปลายฤดูฝนและต้นฤดูฝน ศึกษาวิธีการจัดการที่เหมาะสมในการเพื่อให้ผลผลิตสูงในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย  ประมวลข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต คุณสมบัติของแป้ง ต่อการจัดการที่แตกต่างกัน  คำนวณผลผลิตรวมต่อต้น ผลผลิตรวมต่อไร่ คำนวณต้นทุนผลผลิตต่อไร่ ซึ่งผลจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าถั่วกัวร์ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมและให้ผลผลิตได้ดี และสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในรุ่นถัดไปได้

3

4

5

6

ผลจากการทดลองครั้งนี้ พบว่า การปลูกถั่วกัวร์ในทุกการทดลอง มีการเจริญเติบโตด้านความสูงในต้นฤดูฝนมากกว่าปลายฤดูฝน ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 105-120 วัน พบว่า ปริมาณผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของการปลูกถั่วกัวร์ในต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนให้ผลไม่แตกต่างกัน แต่ค่าเฉลี่ยของจำนวนช่อดอก จำนวนฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝักและน้ำหนักเมล็ด ที่ปลูกในต้นฤดูฝนมีแนวโน้มมีค่ามากกว่าปลูกในปลายฝน ส่วนผลผลิตรวมในปลายฤดูฝนมีแนวโน้มให้ผลผลิตมากกว่าในต้นฤดูฝน ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูก  พบว่า การใช้ระยะปลูก 50×50 และอัตราปุ๋ยที่ใช้ 16-16-8 ให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 62.3-77 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยและให้ผลกำไรสุทธิมากกว่าระยะปลูกอื่นๆ

การปลูกถั่วกัวร์จึงเป็นพืชที่มีศักยภาพเหมาะกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เป็นการเพิ่มอีกทางเลือกแก่เกษตรกรในการปลูกพืชหมุนเวียน

7

เมล็ดที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้ว 1 คืน                                            ขัดเปลือกที่เป็นสีดำออก

8

ใช้เครื่องโม่ โม่เมล็ดถั่วจนละเอียดล้างด้วยน้าสะอาดกรองด้วยตะแกรงละเอียด

9

endosperm และ germ

10

บด ส่วนที่เป็น endosperm และ germ อีกครั้ง คั้นและกรองด้วยผ้าขาวบาง

11

                        จะได้ลักษณะเป็นวุ้นสีขาวเหนียว หนืด

นำไปตากแห้งที่โรงตากแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นเวลา 1-2 วัน จะได้แผ่นแป้งแข็งสีขาว

%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93
ที่มาข้อมูล : โครงการวิจัยทุนอุดหนุนวิจัย มก.

หัวหน้าโครงการ : นางสาวระวิวรรณ โชติพันธ์

สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร

คณะเกษตร กำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

เรื่อง : ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย  สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. โทร. 02 561 1474
e-mail : rdiwan@ku.ac.thนางสาวระวิวรรณ โชติพันธ์