คุณลักษณะที่ตั้งของชั้นดินอ่อนเพื่อการแบ่งเขตความรุนแรงของแผ่นดินไหวในจังหวัดพะเยา

1

2

จังหวัดพะเยาถูกจัดให้เป็นจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อธรณีพิพัติภัยแผ่นดินไหวระดับปานกลาง เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่าน  ในอดีตมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางถึงใหญ่จากรอยเลื่อนนี้และได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวมาโดยตลอด ประกอบกับพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบล้อมรอบด้วยเทือกเขาและเป็นแอ่งตะกอน มีชั้นดินอ่อนที่ค่อนข้างหนาและวางตัวอยู่บนชั้นดินแข็ง สภาพดินเช่นนี้สามารถขยายสัญญาณคลื่นแผ่นดินไหวได้หลายเท่า และทำให้การสั่นสะเทือนขอพื้นดินตอบสนองต่อความถี่ของคลื่นแผ่นดินไหว  ดังนั้นการเกิดแผ่นดินไหวไม่ว่าจะเป็นเพียงขนาดปานกลางในบริเวณใกล้เคียงหรือแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จากระยะไกลก็อาจส่งผลกระทบกับอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆในจังหวัดพะเยาให้เกิดความเสียหายได้

ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับนายบุรินทร์ เวชบรรเทิง ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวจากกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ทำการศึกษาคุณลักษณะของชั้นดิน ณ ที่ตั้งของพื้นที่จังหวัดพะเยา ประกอบด้วยการศึกษาอิทธิพลของสภาพพื้นดินของจังหวัดพะเยาที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของขนาดสัญญาณคลื่นแผ่นดินไหว  โดยการสำรวจและคำนวณค่าความเร็วเฉือนเฉลี่ยของชั้นดินอ่อนที่ระดับความลึก 30 เมตร (Vs30) ร่วมกับการตรวจวัดคลื่นขนาดเล็กที่ผิวดิน (microtremor) เพื่อตรวจวัดการตอบสนองของพื้นดินในช่วงคาบการสั่นสะเทือนในช่วงต่างๆ

3

4

การตรวจวัดความเร็วคลื่นเฉือนเฉลี่ยของชั้นดินที่ระดับความลึก 30 เมตร (Vs30) จำนวน 58 ตำแหน่ง และการตรวจวัดคลื่นขนาดเล็กที่ผิวดิน (microtremor) จำนวน 45 ตำแหน่ง ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพะเยา พบว่า พื้นที่ศึกษามีค่า Vs30 อยู่ระหว่าง 190 – 460 เมตรต่อวินาที จัดเป็นชั้นดินประเภท class D และ class C ตามเกณฑ์การจำแนกของ National Earthquake Hazards Reduction Program (NEHRP) ในขณะที่การตรวจวัดคลื่นขนาดเล็กที่ผิวดิน (microtremor) พบว่ามีค่าการตอบสนองของพื้นดินจากการคำนวณด้วยวิธี H/V spectrum ratio โดยมีค่าคาบการไหวสะเทือนอยู่ในช่วง 0.3 – 2.3 วินาที และพบว่าบางพื้นที่ไม่มีค่าการตอบสนองของพื้นดินที่ชัดเจนซึ่งอาจเป็นผลมาจากมีชั้นดินที่บางมาก

ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการจำแนกพื้นที่ออกตามการตอบสนองของชั้นดินต่อคลื่นแผ่นดินไหว (seismic microzonation) และเมื่อนำไปรวมกับผลการศึกษาธรณีวิทยาแผ่นดินไหวของรอยเลื่อนต่างๆ ในประเทศไทย จะทำให้สามารถทำแผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว (seismic hazard map) บริเวณจังหวัดพะเยาที่มีความถูกต้องต่อไปในอนาคต

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%81%e0%b8%a3

ที่มาข้อมูล : การนำเสนอผลงานวิจัย

      โครงการวิจัยทุนอุดหนุนวิจัย มก.

       28-29 กรกฎาคม2558โรงแรมรามา การ์เด้นท์ กรุงเทพฯ

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์

วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ

คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

เผยแพร่โดย : ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

โทร. 02 561 1474

e-mail : rdiwan@ku.ac.th

 ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์