ระบบติดตามตรวจวัดความปลอดภัยเขื่อนจากระยะไกล

1

สร้างความมั่นใจรับมือภัยพิบัติธรรมชาติด้วยระบบตรวจติดตามความปลอดภัยเขื่อนจากระยะไกล(Dam Safety Remote Monitoring System ; DS-RMS) เป็นการเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์อุทกภัย หรือสถานการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหว

ระบบติดตามตรวจวัดความปลอดภัยเขื่อนจากระยะไกล เป็นระบบที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) ทั้ง 14 เขื่อนทั่วประเทศเพื่อให้สามารถได้รับข้อมูลเขื่อนที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็วทันเหตุการณ์ จากระยะไกลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยให้ได้ข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการ ทั้งในภาวะปกติ หรือเมื่อเขื่อนเผชิญภาวะวิกฤต เช่น แผ่นดินไหว หรือน้ำหลาก ให้สามารถตอบสนองทันต่อสถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยเขื่อนต่อภาคสังคมและชุมชนท้ายเขื่อน

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารและโปรแกรมแสดงผลของ DS-RMS เป็นการติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยมีรศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ และนายชิโนรส ทอง ธรรมชาติ จากศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำเกณฑ์การแจ้งเตือนความปลอดภัยเขื่อนและพัฒนาระบบเสมือนผู้เชี่ยวชาญ (Expert system)

ระบบตรวจติดตามความปลอดภัยเขื่อนจากระยะไกล(DS-RMS)เป็นระบบเฝ้าระวังแบบอัตโนมัติ ที่ติดตั้งไว้ที่เขื่อนและรอบอ่างเก็บน้ำ ส่งข้อมูลไปยังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เพื่อทำการประมวลผลหาสถานะความปลอดภัยเขื่อนด้วยระบบเสมือนผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ที่จะช่วยคาดการณ์สาเหตุของความผิดปกติ โดยจะแจ้งสถานะความปลอดภัยเขื่อนหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นในทันทีบน Web Application ทางหน้าจอเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว

ระบบติดตามตรวจวัดความปลอดภัยเขื่อนจากระยะไกล ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ

ระบบตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อน

เป็นระบบตรวจวัดพฤติกรรมของเขื่อนทั้งพฤติกรรมการรั่วซึมและการทรุดตัวเคลื่อนตัว เมื่อระบบตรวจวัดค่าที่เกินเกณฑ์ความปลอดภัยในรูปแบบการพิบัติต่างๆ ระบบจะแจ้งเตือนความผิปกติ โดยระบบผู้เชี่ยวชาญเสมือน จะสันนิษฐานสาเหตุความผิดปกติและประเมินว่าอาจทำให้เกิดรูปแบบการพิบัติใดบ้าง พร้อมกับให้คำแนะนำในการตรวจสอบต่อไป2

ระบบตรวจวัดแผ่นดินไหว

เป็นระบบตรวจวัดขนาดและศูนย์กลางแผ่นดินไหว ซึ่งคอยตรวจวัดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ และระบบตรวจวัดอัตราเร่งจากแผ่นดินไหวที่มาถึงเขื่อนซึ่งติดตั้งไว้บริเวณตัวเขื่อน เมื่อตรวจวัดค่าที่เกินเกณฑ์ ระบบจะแจ้งเตือนความผิดปกติ และสั่งอ่านค่าจากเครื่องมือตรวจวัดอื่นๆ โดยระบบผู้เชี่ยวชาญเสมือน จะสันนิษฐานสาเหตุความผิดปกติและประเมินว่าอาจทำให้เกิดรูปแบบการพิบัติใดบ้าง พร้อมกับให้คำแนะนำในการตรวจสอบต่อไป

3

ระบบจัดการน้ำหลาก

เป็นระบบที่เฝ้าระวังความเสี่ยงที่น้ำจะไหลล้นข้ามสันเขื่อนในช่วงน้ำหลาก แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ เมื่อระดับน้ำจะขึ้นถึง upper rule curve ระดับเก็บกักปกติ และระดับน้ำสูงสุด โดยระบบผู้เชี่ยวชาญเสมือนจะให้คำแนะนำอัตราที่ควรระบายน้ำออกผ่านบานระบายน้ำล้น พร้อมทั้งมีTool ในการจำลองการระบายน้ำ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจระบายน้ำ เพื่อให้เขื่อนปลอดภัยจากการไหลล้นข้ามสันเขื่อน

4

ระบบเสมือนผู้เชี่ยวชาญ

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของDS-RMS เป็นการติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นโดยทำการเชื่อมโยงข้อมูลเขื่อนใหญ่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทั้ง 14 เขื่อนเข้าด้วยกัน และทำการประเมินความปลอดภัยเขื่อนใน 3 สภาวะ คือ สภาวะใช้งาน  ประเมินจากเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนและการตรวจสอบสภาพเขื่อน สภาวะที่มีน้ำหลากไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ และสภาวะที่มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น มี serverช่วยจัดเก็บข้อมูลแบบ real-time โดยข้อมูลจากทุกเขื่อนจะถูกเชื่อมโยงมาที่ศูนย์ประมวลผลกลางด้านความปลอดภัยเขื่อน ทำหน้าที่ติดตามข้อมูลพฤติกรรมเขื่อนให้มีความถูกต้อง ต่อเนื่อง รวดเร็ว สามารถวิเคราะห์และประเมินผลความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนได้ เป็นระบบอัติโนมัติซึ่งมีหน่วยควบคุมระยะไกลเป็นระบบเสมือนผู้เชี่ยวชาญ  โดยมีการประมวลผลผ่าน Web application เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำและความปลอดภัย รวมทั้งสามารถสื่อสารสถานะความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนให้แก่สาธารณชนได้รับทราบอย่างรวดเร็ว ทำให้สังคมและชุมชนท้ายเขื่อนเชื่อมั่นในความปลอดภัยของเขื่อน

5

6

%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b9%8c2 ที่มาข้อมูล : นิทรรศการงานวิจัย               “การประชุมวิชาการประเพณี

เกษตรศาสตร์–มหิดล–กองทัพเรือ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่18”

                 วันที่ 19 กันยายน 2559

หัวหน้าโครงการ :รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์

ผู้ร่วมวิจัย :นายชิโนรส ทองธรรมชาติ

ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

เผยแพร่โดย : ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

โทร. 02 561 1474

e-mail : rdiwan@ku.ac.th

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์