รายการวิทยุ เรื่อง การสำรวจความชุกชุมของแมลงวันในฟาร์มโคนม/จำนงจิต ผาสุข

บทวิทยุรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.”

ออกอากาศวัน เสาร์ ที่ 21  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558

เรื่อง การสำรวจความชุกชุมของแมลงวันในฟาร์มโคนม

 บทวิทยุโดย วิทวัส ยุทธโกศา

……………………………………………………………

-เพลงประจำรายการ-

สวัสดีครับ คุณผู้ฟังทุกท่านครับ พบกันอีกครั้งกับรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” ซึ่งออกอากาศเป็นประจำทุกวันเสาร์ ทางสถานีวิทยุ มก. แห่งนี้ครับ รายการนี้ผลิตโดย ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายการของเราเป็นรายการที่จะนำเสนอเรื่องราวผลงานวิจัยดีๆ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อให้คุณผู้ฟังได้นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง โดยมีกระผมวิทวัส ยุทธโกศา เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

สวัสดีครับคุณผู้ฟัง เจอกันอีกแล้วนะครับ วันนี้กระผมมีผลงานวิจัยที่น่าสนใจมาฝากอีกแล้วครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับแมลงชนิดหนึ่งที่กระผมคิดว่าคุณผู้ฟังต้องรู้จักกันอย่างแน่นอน นั่นก็คือ แมลงวันนั่นองครับ แต่วันนี้เราจะมาพูดกันในเรื่องการสำรจความชุกชุมตามฤดูกาลของแมลงวันปรสิตในฟาร์มโคนม ซึ่งงานวิจัยนี้ทำการสำรวจกันที่ฟาร์มในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นผลงานการวิจัยของ จำนงจิต ผาสุข ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการ สุนิศา สงวนทรัพย์ นงนุช ภิญโญภานุวัฒน์ วิษณุวัฒน์ ฉิมน้อย สถาพร จิตตปาลพงศ์ สังกัดภาควิชาปรสิตวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนครับ ก่อนอื่นเรามาฟังวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้กันก่อนนะครับ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยในครั้งนี้คือ การสำรวจและศึกษาชนิดของแมลงวันที่เป็นปรสิตภายนอกที่มีความสำคัญต่อฟาร์มโคนม และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลต่อความหลากหลายและความซุกชุมของแมลงวันปรสิตในฟาร์มโคนม ซึ่งขอบเขตของงานวิจัยชิ้นนี้คือ เป็นการเก็บรวมรวบและแยกชนิดของแมลงวันปรสิตที่พบในฟาร์มโคนมในอำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี เพื่อการศึกษาการแพร่กระจายและความชุกชุมตามฤดูกาล โดยทำการสำรวจและเก็บข้อมูลทุกเดือนตลอดระยะเวลาหนึ่งปี และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันกำจัดแมลงปรสิตและแนวทางในการจัดการฟาร์มต่อไปครับคุณผู้ฟัง

-เพลงคั่นรายการ-

ประโยชน์ที่นักวิจัยคาดว่าจะได้รับนะครับคือ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงชนิดของแมลงวันปรสิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณฟาร์มโคนมและความชุกชุมตามฤดูกาลที่มักจะพบแมลงปรสิตเข้ามารบกวนสัตว์จากสภาพการเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรผู้เลี้ยงครับผม อีกอย่างคือการศึกษาแนวทางในการป้องกันและควบคุมลดปริมาณของแมลงไม่ให้มารบกวนสัตว์เลี้ยง ซึ่งสามาคาดการณ์ได้ว่าจะพบแมลงชนิดใดบ้างในบริเวณฟาร์มสัตว์เลี้ยงและช่วงระยะเวลาใดที่จะพบแมลงศัตรูมารบกวนสัตว์ โดยผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การศึกษา ค้นคว้าและการทดลองสารจำกัดแมลงศัตรูที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อสัตว์ คนและสภาพแวดล้อมต่อไปในอนาคตนั้นเองครับ ต่อมาคือการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแมลงให้กับเกษตรกร นิสิต นักศึกษา ครูบาอาจารย์ นักวิจัยและหน่วยงานราชการ เพื่อสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันกำจัดแมลงปรสิตในฟาร์มโคนมและการจัดการฟาร์มที่เหมาะสมต่อไปนั่นเองครับคุณผู้ฟัง

แมลงวันมีหลายชนิดที่จัดเป็นปรสิตภายนอกที่มีบทบาทสำคัญต่อฟาร์มปศุสัตว์ในประเทศไทยครับ โดยเฉพาะพวกแมลงวันดูดเลือด อีกทั้งบางชนิดทำความรำคาญต่อสัตว์เลี้ยงโดยการบินหรือตอมบริเวณดวงตา หูและจมูก ทำให้สัตว์เกิดอาการเครียดและไม่ได้พักผ่อน นอกจากจะถูกรบกวนในลักษณะดังกล่าวแล้วนะครับ แมลงวันอาจมีผลทำให้สัตว์เราเกิดอาการแพ้ได้ครับ การสูญเสียเลือด น้ำหนักตัวและผลผลิตของน้ำนมลดลงและอาจถึงขั้นทำให้สัตว์ตายได้เลยทีเดียวครับคุณผู้ฟัง จากการค้นคว้างานวิจัยอื่นๆพบได้ว่าการถูกกัดหรือถูกรบกวนต่างๆจากสัตว์ขาปล้อง เช่น ริ้นดำ ยุง แมลงวันคอกสัตว์ แมลงวันเขาสัตว์ แมลงวันตอมหน้า แมลงวันบ้าน เหาและเห็บ มีผลทำให้ผลผลิตโคนมลดลงครับ ที่ร้ายแรงไปกว่านั้นบางชนิดเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนและสัตว์ นอกจากนี้การเกิดหนอนแมลงวันที่ชอนไซเข้าสู่ร่างกายตามบาดแผล หรือช่วงเปิดตามร่างกายและอาศัยกินเนื้อเยื่ออยู่ภายใน ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้ทำการรักษาอาจทำให้สัตว์เลี้ยงของเราตายได้ครับ ผลกระทบอีกอย่างนั้นก็คือร่องรอยที่เกิดจากการเจาะชอนไชของหนอนแมลงวันบางชนิดจะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการผลิตหนังสัตว์ได้เช่นกันครับ

-เพลงคั่นรายการ-

ในปัจจุบันนะครับการเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศมีการพัฒนาและเจริญเติบโตกันอย่างรวดเร็ว ผลกระทบจากการเลี้ยงสัตวที่ขยายตัวขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาของเสียและน้ำเน่าจากฟาร์มกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงหลายชนิดด้วยกัน รวมทั้งเจ้าแมลงวัน แมลงที่เราจะทำเกิดวิจัยค้นคว้ากันในครั้งนี้ ซึ่งที่สำคัญแมลงชนิดนี้เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่คนและสัตว์ลี้ยงในชุมชน เช่นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัวและไข่พยาธินั่นเองครับ

ผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้พบแมลงวันดูดเลือดและแมลงวันรบกวนกลุ่มสำคัญในอันดับ Diptera ซึ่งเป็นอันดับที่มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยประมาณ 240,000 ชนิด ของ ยุงบั่วริ้น และแมลงวันอื่นๆ แต่มีเพียงครึ่ง(ประมาณ 122,000 ชนิด) ที่ได้รับการจำแนกแล้ว เป็นอันดับหลักๆที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและมนุษย์ ได้แก่ วงศ์  Muscidae และ Tabanidae มีจำนวน 102,454 ตัว จำแนกออกเป็น 5 สกุล และ 17 ชนิด จากฟาร์มโคนมจำนวน 5 ฟาร์มด้วยกัน ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ด้วยวิธีการติดตั้งกับดักมุ้งในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมครับ

ซึ่งวงศ์ Muscidae (มูสซิดี๊)ประกอบด้วยแมลงวัน 2 กลุ่มด้วยกัน คือ แมลงวันดูดเลือดและแมลงวันรบกวน ซึ่งได้พบแมลงวันดูดเลือดมีจำนวนรวมทั้งหมด 25,379 ตัว ประกอบด้วย 2 สกุล และ 5 ชนิด ได้แก่ แมลงวันริ้นควายหรือแมลงวันเขาสัตว์ ส่วนแมลงวันรบกวนมีจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 76,860 ตัว ประกอบด้วย 1 สกุล และ 2 ชนิด

และวงศ์ Tabanidae (ทาบานิดี๊) มีจำนวนตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 215 ตัว ประกอบด้วย 2 สกุล และ 10 ชนิด ตัวเหลือบจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นกับการเริ่มต้นฤดูฝนในเดือนมีนาคมและปริมาณยังคงสูงจนถึงเดือนกันยายนและจะลดปริมาณลงในฤดูหนาวช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ จากการวิจัยในครั้งนี้พบปริมาณและจำนวนชนิดเหลือบสูงที่สุดในเดือนเมษายน ซึ่งความฝันแปรของปริมาณน้ำฝนอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงประชากรชนิดของเหลือบที่พบนั่นเองครับ

ซึ่งแนวทางในการป้องกันและควบคุมแมลงวันปรสิตในฟาร์มโคนมให้อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ก็สามารถแนะนำเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมโดยการใช้ขั้นตอนการจัดการแมลงศัตรูแบบผสมผสาน เพราะการป้องกันและควบคุมแมลงศัตรูมากกว่าหนึ่งวิธีนั้นอาจให้ผลที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงวันในระยะยาว ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมยอมรับ และขั้นตอนการจัดการแมลงวันปรสิตในโคนมมีอะไรบ้าง ฟังกันในช่วงหน้าครับ

 -เพลงคั่นรายการ-

 ขั้นตอนการจัดการแมลงวันปรสิตในโคนมมีดังต่อไปนี้ครับ

  1. ควรมีระบบสุขาภิบาลที่ดี ทได้โดยการกำจัดและขนย้ายของเสียต่างๆที่อยู่ภายในบริเวณฟาร์มออกไป อย่างเช่น มูลสัตว์ เศษพืชและเศษอาหารสัตว์ วัสดุปูรองที่นอนของสัตว์ และกองขยะ โดยพื้นที่ที่ได้ทำความสะอาดไปแล้วนั้นอาจเติมดินแห้งและเปลี่ยนวัสดุปูรองที่นอนใหม่ หมั่นดูแลระบบการระบายน้ำ ของเสียและเศษฟางอย่าให้มีน้ำหรือปัสสาวะสัตว์ท่วมขังเป็นอันขาด หมั่นทำควาสะอาดหรือเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์ม ไม่ควรนำมูลสัตว์ออกมากองรวมกันควรเกลี่ยมูลสัตว์ออกเป็นชั้นบางๆจะดีกว่า และต่อจากนั้นก็ผึ่งตากแดดให้แห้งสนิทหรือจะใช้ผ้ายางคลุมกองสัตว์ไว้เพื่อรอการกำจัดออกไป หมั่นตรวจตราและกำจัดของเสียต่างๆบริเวณภายนอกฟาร์ม คุณผู้ฟังครับการดำเนินงานที่กระผมได้กล่าวมานั้น ควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งและทำสม่ำเสมอ เพื่อลดและเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธ์และยังช่วยตัดวงจรชีวิตของตัวอ่อนแมลงวันก่อนที่จะเจริญเติบโตออกมาเป็นตัวเต็มวัย จากการศึกษาความชุกชุมตามฤดูกาลของแมลงวันปรสิตที่ได้ในครั้งนี้ แนะนำให้ทำในช่วงต้นเดือนมีนาคมถึงเมษายนก่อนจะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลที่พบแมลงงวันจำนวนมากและควรทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งหมดฤดูกาลของแมลงวัน
  2. การสำรวจประชากรแมลง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยในการตัดสินใจก่อนที่จะเลือกวิธีการควบคุมประชากรแมลงวันเพื่อให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ เพราการใช้วิธีระบบการสุขาภิบาลเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในการลดจำนวนตัวเต็มวัยขอแมลงวันได้โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ที่พบแมลงวันชุกชุมมากเพราะมีแหล่งเพาะพันธ์ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของตัวอ่อนแมลงวัน และการทำลายแหล่งเพราะพันธ์ในช่วงหน้าฝนอาจทำได้ลำบากและที่สำคัญต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นควรจะทำการสำรวจจำนวนประชากรของแมลง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งการสำรวจก็มีดังนี้นะครับ คือ การนับจำนวนแมลงวันริ้นควายหรือแมลงวันเขาสัตว์ที่อยู่บนหัว ไหล่และหลังในโคอย่างน้อย 15 ตัว จากนั้นนำมาหาค่าจำนวนเฉลี่ย ถ้าพบจำนวนแมลงริ้นควายมีจำนวนมากกว่า 50 ตัวทางด้านข้างลำตัวโคหนึ่งตัว แนะนำให้ใช้วิธีการควบคุมด้วยสารเคมีกำจัดแมลงหรือกับดัก และการนับจำนวนแมลงคอกสัตว์ที่พบอยู่บนขาคู่หน้าทางด้านนอกและด้านในของขาอีกข้างในโคอย่างน้อย 15 ตัว จากนั้นนำมาหาคำนวณหาค่าเฉลี่ย ถ้าพบแมลงวันคอกสัตว์มีจำนวนมากกว่า 10 ตัวต่อโคหนึ่งตัว แนะนำให้ใช้วิธีการควบคุมด้วยสารเคมีกำจัดแมลงหรือกับดีกเช่นกัน ส่วนข้อมูลการสำรวจประชาการแมลงวันบ้านและเหลือบยังไม่มีข้อมูลในการสำรวจครับ

-เพลงคั่นรายการ

  1. การป้องกันกำจัดตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลงวัน มีหลายวิธีด้วยกันครับ
    • สารเคมีกำจัดแมลง เช่น กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มออร์กาโนครอรีนและกลุ่มไพรีทรัมและกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ส ซึ่งการเลือกใช้สารเคมีกำจัดแมลงในแต่ละกลุ่มนั้นควรอ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้สารเคมีกำจัดแมลงด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง เนื่องจากสารเคมีกำจัดแมลงบางชนิดมีฤทธิ์ตกค้างในน้ำนมหรือเนื้อสัตว์ และอาจทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ เป็นอันตรายต่อสัตว์ชนิดอื่นๆ หรือเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมครับ
    • กับดักจับแมลง อย่างเช่น กับดักกาวเหนียว กับดักเหยื่อล่อ กับดักมุ้ง โดยเจ้าของฟาร์มโคนมหรือประชากรทั่วไปสามารถประดิษฐ์กับดักแมลงวันจากขวดพลาสติก ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้เพื่อนำมาช่วยลดจำนวนประชากรของแมลงวันบริเวณรอบๆฟาร์ม บ้านเรือนหรือร้านค้าขายของชำ วิธีการนี้นอกจากจะเป็นการใช้วัสดุเหลือใช้ให้เป็นประโยชน์คุ้มค่าแล้วนั้นยังเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ประหยัด และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
    • การควบคุมทางชีววิธีเป็นการนำสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เพื่อมาควบคุมสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง สิ่งมีชีวิตที่นำมาควบคุมทางชีววิธีได้แก่ ไก่ นก สัตว์เลื้อยคลาน มด แตนเบียน ด้วงมูลสัตว์ ไร แมงมุม เชื้อแบคทีเรีย โดยวิธีการนี้สามารถควบคุมแมลงวันได้ทั้งระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ซึ่งการนำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ควบคุมแมลงในแต่ละระยะจะมีวิธีการที่แตกต่างกันครับคุณผู้ฟัง

คุณผู้ฟังครับ การสำรวจและศึกษาชนิดของแมลงวันที่เป็นปรสิตภายนอกที่มีความสำคัญต่อฟาร์มโคนม และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลต่อความหลากหลายและความซุกชุมของแมลงวันปรสิตในฟาร์มโคนม เพื่อการศึกษาการแพร่กระจายและความชุกชุมตามฤดูกาล โดยทำการสำรวจและเก็บข้อมูลทุกเดือนตลอดระยะเวลาหนึ่งปี และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันกำจัดแมลงปรสิตและแนวทางในการจัดการฟาร์มต่อไปครับคุณผู้ฟัง

สัปดาห์หน้ากระผม จะนำเรื่องราวผลงานวิจัยอะไรดีๆ มาฝากคุณผู้ฟังอีก อย่าลืมติดตามรับฟังได้ในรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” ในวันและเวลาเดียวกันนี้ หากคุณผู้ฟังมีข้อเสนอแนะนำติชมรายการหรือจะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเขียนจดหมายมายังรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” ตู้ ปณ. 1077 ปทฝ. เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10903 หรือโทรสอบถาม ได้ที่ 0-2561-1474 สำหรับวันนี้รายการจากแฟ้มงานวิจัย มก. ได้หมดเวลาลงแล้วครับ พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า สำหรับวันนี้ลาไปก่อน สวัสดีครับ