รายการวิทยุ เรื่อง ปุ๋ยกับการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 6/อำนาจ สุวรรณฤทธิ์

บทวิทยุ รายการ “ จากแฟ้มงานวิจัย  มก.”
ออกอากาศวันเสาร์ที่ 2 เดือนพฤษภาคม  พ.ศ. 2558
เรื่อง ปุ๋ยกับการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 6
ในเรื่องย่อย ข้อด้อยและข้อระวังของปุ๋ยชนิดต่างๆ
บทวิทยุโดย  วิทวัส ยุทธโกศา

……………………………………………………………………………………………………

-เพลงประจำรายการ-

สวัสดีครับ คุณผู้ฟังทุกท่านครับ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” ซึ่งออกอากาศเป็นประจำทุกวันเสาร์ ทางสถานีวิทยุ มก. แห่งนี้ครับ รายการนี้ผลิตโดยฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. เป็นรายการที่นำเสนอผลงานวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งในด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงต่างๆ  มานำเสนอให้คุณผู้ฟังได้ทราบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคุณผู้ฟังในการนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือกับอาชีพของตนเอง โดยมี กระผม……………………………….รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

สวัสดีครับคุณผู้ฟังทุกท่าน กระผม ………………………ผู้ดำเนินรายการ วันนี้กระผมมีผลงานวิจัยที่เป็นความรู้ในเรื่องของปุ๋ยกับการเกษตรและสิ่งแวดล้อมมาฝากครับ เป็นผลงานของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ท่านเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคปฐพีวิทยา คณะเกษตร มก. ประธานสภาข้าราชการ มก. รองอธิการบดี มก. และอุปนายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย เกษียณอายุราชการในตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11 หลังเกษียณอายุราชการจึงได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ และกับการวิจัยในครั้งนี้ ท่านจึงได้ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลผลการวิจัยในเรื่อง “ปุ๋ยกับการเกษตรและสิ่งแวดล้อม” และเป็นตอนที่ 6 แล้วนะครับ ในเรื่องย่อย คือข้อด้อยและข้อระวังของปุ๋ยชนิดต่างๆช่วงนี้พักกันก่อนแล้วกลับมาฟังกันต่อในช่วงหน้านะครับ

ข้อด้อยและข้อระวังของปุ๋ยชนิดต่างๆ ปุ๋ยแต่ละชนิดมีข้อเสียหรือข้อด้อยและข้อควรระวังในแง่การเกษตรและแง่สิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน

ปุ๋ยเคมี ข้อด้อยและข้อควรระวังที่สำคัญของปุ๋ยเคมีคือ ปุ๋ยเคมีบางชนิดทำให้ความเป็นกรด-ด่างของดินเปลี่ยนไป อาจทำให้มีไนเตรทในพืชสูงและเกิดการชะล้างไนเตรทสู่แหล่งน้ำ หากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูงเกินไปอาจมีธาตุโลหะหนักติดมากับปุ๋ยและสะสมในดินและปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพ และทางชีวภาพของดินได้น้อยกว่าปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยเคมีบางชนิดมีผลตกค้างเป็นกรด บางชนิดมีผลตกค้างเป็นด่าง และบางชนิดมีผลตกค้างเป็นกลาง ซึ่งปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแบบยูเรียและแอมโมเนียม มีผลตกค้างที่เป็นกรดทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้นหากเรานำไปใส่ในดินกรด หากดินเป็นด่างการใส่ปุ๋ยเหล่านี้ก็จะทำให้ดินเป็นด่างน้อยลงหรือเป็นกรด ดังผลการทดลองจะเห็นได้ว่าหากเราเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสมบัติของดิน เช่นเลือกใช้ปุ๋ยที่ทำให้ดินเป็นกรดกับดินที่มีปฏิกิริยาเป็นด่างก็จะทำให้ดินเป็นปฏิกิริยาเป็นด่างน้อยลงหรือเป็นกรดอย่างอ่อนซึ่งเหมาะสมกับพืชมากขึ้นนั่นเองงครับคุณผู้ฟัง แต่ในทางตรงกันข้ามหากดินเป็นกรดมากเกินไปก็ควรจะเลือกใช้ปุ๋ยที่ทำให้ดินเป็นด่างจนทำให้ดินมี PH ที่เหมาะสม

คุณผู้ฟังครับ ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูงอาจทำให้มีการสะสมไนเตรทในพืชและเกิดการชะล้างไนเตรทลงสู่แหล่งน้ำ ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปไนเตรท และปุ๋ยไนโตรเจนในรูปที่จะถูกเปลี่ยนเป็นไนเตรทเมื่อใส่ในดิน ได้แก่ปุ๋ยยูเรีย และไนโตรเจนในรุปแอมโมเนียม เมื่อใส่ในอัตราที่สูงมากเกินความต้องการของพืชจะทำให้พืชดูดไนเตรทเข้าไปมากจนเกินความต้องการ ทำให้มีไนเตรทเหลืออยู่ในพืช ซึ่งหากมีไนเตรทในพืชมากถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดเป็นพิษแก่มนุษย์และสัตว์ที่กินพืชนั้น และในด้านการชะล้างไนเตรทลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู่ใช้น้ำและทำให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสียได้

นอกจากนี้อาจมีโลหะหนักและธาตุพิษติดมาสะสมในดิน เนื่องจากปุ๋ยฟอสเฟทส่วนใหญ่ได้มาจากการนำหินฟอสเฟตมาแปรรูป ดังนั้นหากหินฟอสเฟตที่ใช้เป็นวัถุดิบ มีธาตุโลหะหนักเช่นแคดเมียมและปรอท และธาตุพิษ เช่น อาร์เซนิค อยู่ในปริมาณที่สูง ก็จะทำให้ธาตุโลหะหนักดังกล่าวปนเปื้อนมากับปุ๋ยและสะสมอยู่ในดิน เมื่อใช้ปุ๋ยเป็นระยะเวลายาว อาจทำให้ดินมีโลหะหนักสูงถึงขั้นทำให้พืชดูดขึ้นไปสะสมไว้มากจนเป็นอันตรายแก่มนุษย์และสัตว์ที่กินพืชนั้นได้ อย่างไรก็ตามนะครับ เนื่องจากปริมาณธาตุโลหะหนักที่เจือปนมากกับปุ๋ยขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของหินฟอสเฟตและกรรมวิธีของการผลิตปุ๋ย การหลีกเลี่ยงปัญหานี้ทำได้โดยการเลือกวัตถุดิบที่ไม่มีโลหะหนักเจือปนอยู่ ส่วนไนโตรเจนและโพแทสเซียมส่วนใหญ่จะไม่มีธาตุโลหะหนักเจือปน ส่วนเรื่องการเฝ้าระวังการเจือปนของธาตุโลหะหนักมากับปุ๋ยเคมีนี้ ประเทศไทยโดยกรมวิชาการเกษตรได้มีข้อบังคับให้มีการตรวจสอบธาตุโลหะหนักและธาตุพิษในปุ๋ยที่ขอขึ้นทะเบียนเพื่อการจำหน่ายอยู่แล้ว

และข้อสุดท้าย คือการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของดินได้น้อยกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งอินทรีย์วัตถุเป็นสารที่ช่วย ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของดินได้ดีที่สุด แต่ปุ๋ยเคมีนั้นไม่มีอินทรีย์ถัตถุหรือสารที่จะให้อินทรีย์วัตถุอยู่เลย จึงไม่มีผลทางตรงในการเพิ่มสมบัติทางกายภาพและชีวภาพ จะมีเพียงผลทางอ้อมก็คือ การที่ปุ๋ยเคมีช่วยเพิ่มน้ำหนักแห้งของลำต้น ใบ และรากของพืชซึ่งเมื่อพืชตามลงหรือถูกไถกลบลงดินก็จะช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของดินได้มากกว่าพืชที่ไม่ได้รับปุ๋ยเคมี

มาต่อกันที่ปุ๋ยอินทรีย์กันนะครับ ข้อด้อยและข้อควรระวังของปุ๋ยอินทรีย์ที่สำคัญ คือเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยสูง  คือว่าปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุปุ๋ยน้อยกว่าปุ๋ยเคมีครับในปริมาณน้ำหนักที่เท่ากัน ดังงนั้นจึงต้องใช้ในปริมาณมากจึงจะให้ปุ๋ยธาตุที่พอเพียงแก่พืช ทำให้ต้องจ่ายเงินค่าปุ๋ยมากกว่าปุ๋ยเคมี

อาจทำให้เกิดปัญหาการสะสมไนเตรทในพืช เนนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่ได้จากซากพืชซากสัตว์ ทำให้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆมีสัดส่วนระหว่างธาตุปุ๋ยชนิดต่างๆผันแปรในช่วงที่แคบมากเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี จึงไม่สามารถใช้ปรับสมดุลของธาตุอาหารในดินได้ ตัวอย่างเช่น หาดินขาดฟอสฟอรัส แต่มีในโตรเจนอยู่เพียงพอหรือใกล้จะเพียงพอ หากใส่ปุ๋ยมูลไก่เพื่อที่หวังจะเพิ่มฟอสฟอรัสให้แก่พืช ก็จะมีไนโตรเจนติดไปกับมูลไก่ลงไปในดินด้วย ทำให้มีไนโตรเจนมากเกินไป หากจะใส่ปุ๋ยมูลไก่มากจนดินมีฟอสฟอรัสเพียงพอแก่พืช เป็นต้น

คุณผู้ฟังครับการที่ไม่สามารถปรับให้ธาตุอาหารในดินอยู่ในสมดุลได้นี้นอกจากจะส่งผลให้ได้ผลผลิตต่ำแล้วยังอาจทำให้พืชมีการสะสมธาตุอาหารบางตัวมากจนเกินไป เช่น มีการสะสมไนเตรท ในกรณีที่ดินขาดฟอสฟอรัสอย่างรุนแรงแล้วพยายามใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนมากแต่มีฟอสฟอรัสน้อย เช่นพวกปุ๋ยมูลไก่เพื่อมุ่งหวังที่จะแก้ปัญหาการขาดธาตุฟอสฟอรัส

มาต่อกันตรงความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาการชะล้างไนเตรทสู่แหล่งน้ำ เนื่องจากส่วนใหญ่ของธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์อยู่ในรูปที่พืชดูดไม่ได้และจะต้องรอจนกว่าปุ๋ยจะสลายตัวทำให้ธาตุอาหารถูกเปลี่ยนไปเป็นรูปที่พืชดูดใช้ได้ ทำให้ปุ๋ยอินทรีย์ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืชได้ใช้อย่างช้าๆ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่พืชต้องใส่ล่วงหน้าเป้นเวลานานก่อนที่จะถึงระยะที่พืชต้องการอาหารเป็นปริมาณมาก และมักจะเป็นการแนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนปลูกพืช อย่างไรก็ตาม เมื่อใส่ปุ๋ยปลูกพืชแล้วเกิดสภาวฝนแล้ง ทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบต่อไปได้และก็จะตายในที่สุดเมื่อฝนตกในระยะต่อมาทำให้ดินชื้นขึ้น แต่ไม่มีพืชที่ปลูกอยู่แล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ก็จะปลดธาตุอาหารรวมทั้งธาตุไนโตรเจนออกมาสู่ดิน และสะสมในดินโดยไม่มีพืชดูดไปใช้จึงอาจทำให้ไนเตรทถูกชะล้างลงู่แหล่งน้ำทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ การที่ไม่สามารถควบคุมให้ปุ๋ยอินทรีย์ปล่อยธาตุอาหารให้ตรงกับเวลาที่พืชต้องการนี้ทำให้มีการชะล้างไนโตรเจนจากปุ๋ยอินทรีย์มากกว่าปุ๋ยเคมี

ต่อกันกับข้อด้อยอีกข้อนึงของปุ๋ยอินทรีย์นะครับ นั่นคือ ทำให้มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกจากดิน เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ทุกชนิดกระตุ้นให้จุลทรีย์เจริญเติบโตมากขึ้น ทำให้ดินที่มีน้ำขัง

ทำให้มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกจากดิน เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ทุกชนิดกระตุ้นให้จุนลินทรีย์เจริญเติบโตมากขึ้น ทำให้ดินที่มีน้ำขังปรับสู่สภาพอับอากาศ(anaerobic condition) รุนแรงขึ้น และดินดอนปรับสู่สภาพอับอากาศในบางส่วนของมวลดิน เช่น ส่วนในของเม็ดดินรุนแรงขึ้นสภาพเช่นนี้เกื้อหนุนต่อการเกิดก๊าซมีเทน และไนตรัสออกไซด์ในดิน ซึ่งก๊าซทั้งนี้เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์โลกร้อนนั่นเองหล่ะครับคุณผู้ฟัง ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอัตราส่วนคาร์บอนกับไนโตรเจนสูงจะมีผลต่อการเกิดก๊าซดังกล่าวมากกว่าสารอินทรีย์ที่มีอัตราส่วนมากกว่าคาร์บอนกับไนโตรเจนที่ต่ำกว่า ดังนั้นนะครับ เศษพืชที่ยังไม่สลายตัวไปเพียงบางส่วนจะมีผลดังกล่าวมากกว่าปุ๋ยหมักซึ่งหมักจนมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนกับไนโตรเจนต่ำแล้วและฟางข้าวมีผลมากกว่าต้นและใบพืชตระกูลถั่วนั่นเอง

อาจมีโรคพืชและวัชพืชติดมา ปุ๋ยคอกและเศษพืชที่นำมาใส่กับดินโดยตรงหรือนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักแต่หมักไม่ถูกวิธีอาจจะมีโรคพืช แมลงศัตรูพืช และเมล็ดวัชพืชติดมาด้วย ทำให้พืชที่ได้รับผลกระทบจากโรคพืช แมลง และวัชพืชมากขึ้นนั่นเองครับ

อาจมีธาตุโลหะหนักและสารพิษอื่นๆติดมา ในบางกรณีปุ๋ยอินทรีย์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ซากพืชหรือวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และปุ๋ยหมักจากขยะและตะกอนน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและจากครัวเรือน อาจจะมีธาตุโลหะหนักหรือสารพิษอื่นๆติดมา ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยหมักที่ทำมาจากขยะที่ไม่มีการแยกวัตถุที่มีธาตุโลหะหนัก อย่างเช่น แบตเตอรี่แห้งที่มีสารแคดเมี่ยมเป็นตัวให้กระแสไฟฟ้า แบตเตอรี่รถยนต์ที่มีสารตะกั่วเป็นตัวให้กระแสไฟฟ้า กระดาษบางชนิดที่มีหมึกพิมพ์ที่มีสารโลหะหนัก (เช่นกระดาษหนังสือพิมพ์)ออกก่อนทิ้ง ซึ่งหลังจากทิ้งรวมกับวัสดุอื่นในถังขยะจะเกิดการเน่าเปื่อยบางส่วนจะทำให้เกิดกรดออกมาละลายธาตุพิษไปปะปนกับวัสดุที่ไม่มีธาตุพิษ ทำให้ยังมีธาตุพิษติดไปกับวัสดุที่นำไปหมักเป็นปุ๋ยแม้มีการแยกขยะก่อนนำไปหมักเป็นปุ๋ยก็ตามครับ จึงทำให้ปุ๋ยหมักที่ทำจากขยะมีโอกาสที่จะมีธาตุโลหะหนัก อย่างเช่น ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียมติดมาเป็นจำนวนมากได้ คุณผู้ฟังทราบไหมครับว่าปุ๋ยมูลไก่อาจมีธาตุอาร์เซนิค เนื่องจากมีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตของไก่ที่มีธาตุอาร์เซนิคเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยมูลไก่และมูลสุกรอาจมีโซเดียมติดมาจากการใช้โซดาไฟในการทำความสะอาดพื้นคอก ซึ่งธาตุโซเดียมมีผลเสียต่อสมบัติของดิน ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอาจจะมีธาตุโลหะหนักและโซเดียมเจือปนอยู่ สารพิษดังกล่าวอาจจะสะสมอยู่ในดินจนถึงขั้นอันตรายได้ ข้อมูลจากการวิจัยชี้แนะว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีความเสี่ยงต่อการสะสมโลหะหนักในดินมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยชีวภาพ มีข้อด้อยที่สำคัญคือ ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ได้บางธาตุ นั่นก็คือ ปุ๋ยชีวภาพชนิดหนึ่งๆ สามารถช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เฉพาะบางธาตุ เช่นไรโซเบียมและแหนแดงช่วนเพิ่มธาตุไนโตรเจน แบคทีเรียช่วยละลายฟอสเฟต ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสเฟตในดินและเชื้อราไมคอไรซาช่วยให้พืชดูดดึงบางธาตุ เช่น ฟอสฟอรัส และสังกะสีได้มากขึ้น จึงทำให้ต้องใช้ปุ๋ยชีวภาพหลายชนิดในกรณีที่ดินขาดธาตุอาหารหลายธาตุ ทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้

การเก็บรักปุ๋ยต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษและเก็บไว้ได้ไม่นาน เนื่องปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยที่มีจุลินทรีย์เป็นตัวแสดงฤทธิ์ของปุ๋ย จุลินทรีย์เหล่านี้ต้องการสภาพที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต ฉะนั้น การเก็บรักษาต้องใช้การระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่นต้องเก็บไว้ในที่เย็น ต้องป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด ต้องอยู่ในสภาพที่มีความชื้นพอเหมาะ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีอายุการเก็บรักษาที่สั้นกว่าปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์อีกด้วยครับ

มีข้อจำกัดที่ทำให้การใช้ปุ๋ยยุ่งยาก เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยที่มีจุลินทรีย์เป็นตัวออกฤทธิ์ และจุลินทรีย์เป็นตัวตอบสนองไวต่อสภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิที่สูง สภาพแห้ง การมีสารเป็นพิษต่อจุลินทรีย์ เช่นสารควบคุมแบคทีเรียที่เป็นศัตรูพืช และควบคุมเชื้อราที่เป็นศัตรูพืช เป็นต้น จึงทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้ปุ๋ยชีวภาพเหล่านี้ เช่น เมื่อฝนแล้งและอุณหภูมิของดินสูง เกิดการระบาดของโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ซึ่งจำเป็นต้องมีการใช้สารป้องกันการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช กรณีเหลานี้อาจทำให้การใช้ปุ๋ยชีวภาพไม่ได้ผลครับ

สุดท้ายนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป เกษตรกรและนักวิชาการ ให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับผลของปุ๋ยแต่ละชนิดในแง่ของการเกษตรและแง่ของสิ่งแวดล้อม เพื่อสามารถตัดสินใจอย่างถูกต้องว่าควรจะใช้ปุ๋ยชนิดใดจึงจะเหมาะสมทั้งในแง่ต้นทุนการผลิตพืชและในแง่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด การที่เราได้ทราบถึงข้อดีของปุ๋ยแต่ละชนิดทำให้เราสามารถรู้ถึงแนวทางในการใช้ปุ๋ย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก่อให้เกิดความคุ้มค่า ในการซื้อปุ๋ยก็เป็นกระบวนการหนึ่งในการปลูกพืชที่เกษตรกรหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่สำคัญก้เป็นตัวแปรสำคัญของต้นทุนที่มีผลต่อกำไรในการประกอบอาชีพเกษตรกร ดังนั้นเรื่องที่กระผมนำมาเผยแพร่จึงเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรในการนำความรู้เป็นใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปครับ

คุณผู้ฟังครับ สัปดาห์หน้ากระผมจะนำเรื่องราวผลงานวิจัยอะไรดีๆ มาฝากคุณผู้ฟังอีก อย่าลืมติดตามรับฟังได้ในรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” ในวันและเวลาเดียวกันนี้ หากคุณผู้ฟังมีข้อเสนอแนะนำติชมรายการหรือจะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเขียนจดหมายมายังรายการ “จากแฟ้มงานวิจัย มก.” ตู้ ปณ. 1077 ปทฝ. เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10903 หรือโทรสอบถาม ได้ที่ 0-2561-1474 สำหรับวันนี้รายการจากแฟ้มงานวิจัย มก. ได้หมดเวลาลงแล้วครับ พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า สำหรับวันนี้ลาไปก่อน สวัสดีครับ