ครบวงจรเรื่องโค ที่คาวบอยแลนด์

สมเด็จพระเทพ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำนักศึกษานายร้อยเยี่ยมชมโคพันธุ์กำแพงแสน

และกิจการของคาวบอยแลนด์ เมื่อ 8 สิงหาคม 2544

คาวบอยแลนด์ 

24 รองศาสตราจารย์ ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์                                                            

           พ.ศ. ๒๕๔๐ เริ่มโครงการปรับปรุงพันธุกรรมและสมรรถภาพการผลิตโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนอย่างเข้มข้น โดยมี ศาสตราจารย์ปรารถนา พฤกษะศรี เป็นหัวหน้าโครงการฯ ได้รับงบประมาณจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สวพ.มก.) ซึ่งในช่วงนั้นมี รองศาสตราจารย์ ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ เป็นผู้อำนวยการ ได้จัดสรรงบอุดหนุนวิจัยเป็นเงิน 2 ล้านบาทให้แก่โครงการ และต่อเนื่องอีก 7 ปี โครงการนี้ดำเนินการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับสมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน และสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีกรมปศุสัตว์ให้การสนับสนุนด้านการส่งเสริมและเผยแพร่ 

โครงการปรับปรุง   ขุนแผน-จากcowboyland-1   

งบประมาณที่ได้เป็นจุดเริ่มต้นของงานวิจัยการทดสอบสมรรถภาพ (performance test)เพื่อคัดเลือกพ่อพันธุ์โค ผลิตน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ที่ดีเลิศ ในการดำเนินงานโครงการ ฯ ได้สร้างโรงเรือนเลี้ยงโคทดสอบ โรงเรือนพ่อพันธุ์ที่ผ่านการทดสอบและอาคารอื่นๆ ตามความจำเป็น และใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมเกษตรกร จัดงานประกวดโคเนื้อประจำทุกปี  รวมทั้งเป็นสถานที่ดูงานของเกษตรกรและผู้สนใจ มีการสาธิตการรีดน้าเชื้อ และการผสมเทียมโคให้กับนักท่องเที่ยวได้ชม เพื่อให้การใช้ประโยชน์ของอาคารและสถานที่ที่ได้สร้างขึ้นนี้คุ้มค่ามากกว่าการใช้เพื่องานวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้สนับสนุนงบประมาณอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อทำให้พื้นที่ 150 ไร่นี้เป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตโคเนื้อทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การคัดเลือกลูกโคเพื่อเป็นพ่อ-แม่พันธุ์  การขุนโคเป็นโคเนื้อ จนสามารถมีเนื้อโคขุนที่ถูกสุขลักษณะให้ชิม  จึงจัดตั้งเป็น ศูนย์สาธิตการผลิตโคเนื้อครบวงจร และด้วยเหตุที่มีทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวข้องกับโคจึงเรียกกันติดปากว่า คาวบอยแลนด์ (Cowboy Land) ซึ่งสร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2542 และได้ใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้

25

     ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ  สูตะบุตร

   นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยฯซึ่งในช่วงนั้นมีศาสตราจารย์ ดร.ธีระ  สูตะบุตร เป็นอธิการบดี ได้ให้การสนับสนุนการสร้างคาวบอยคอนเนอร์ มีร้านอาหารชื่อ เท็กซัส สเต็ก ที่ใช้เนื้อโคขุนจากโคพันธุ์กำแพงแสนที่ได้จากสมาชิกสหกรณ์ฯ ทำให้การดำเนินงานโครงการโคกำแพงแสนสมบูรณ์ครบวงจรตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภค

    พ.ศ. 2543 นายปรีชา อินนุรักษ์ เป็นหัวหน้าโครงการปรับปรุงพันธุกรรมและสมรรถภาพการผลิตโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสนสืบต่อมา และผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งจากพ่อโคที่ผ่านการทดสอบคุณภาพแล้ว กระจายให้แก่สมาชิกในโครงการและเกษตรกรทั่วประเทศ                    

 สเต็กคาวบอยแลนด์