มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50

1.เกษตร50

2.เกษตร 50

ประวัติการพัฒนาพันธุ์ 

    มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์ระยอง 1 กับพันธุ์ระยอง 90 เป็นการพัฒนาพันธุ์ร่วมกันระหว่างนักวิชาการจาก  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กรมวิชาการเกษตร และศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (Centro International de Agricultura Tropical,  CIAT) แนะนำให้เกษตรกรปลูกในปี พ.ศ. 2536   จึงตั้งชื่อเพื่อเป็นการร่วมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี 2536

    มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ  มีความงอกดี  ลำต้นสูงใหญ่    หัวดก และมีลักษณะเป็นกลุ่มสามารถเก็บเกี่ยวได้สะดวก    และมีปริมาณแป้งในหัวมันสูง

 ลักษณะประจำพันธุ์

สีของสำต้น   สีเขียวเงิน

KU50 ต้น

 ผู้พัฒนาพันธุ์ : เจริญศักดิ์  โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์  ปิยะวุฒิ  พูลสงวน 

                        จำลอง  เจียมจำนรรจา  สมยศ  พุทธเจริญ 

                        ธีรวัฒน์  กษิรวัฒน์  วิจารณ์  วิชชุกิจ  เอ็จ  สโรบล

                        ปิยะ  ดวงพัตรา  นิพนธ์  ทวีชัย ชาญ  ถิรพร 

                        K.  Kawana อัจฉรา  ลิ่มศิลา  และดนัย  ศุภาหาร

หน่วยงาน  : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร 

                   และ  ศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ

 

สีของก้านใบ สีเขียว
สีของยอดอ่อน สีม่วง (ไม่มีขนอ่อน)
ความสูงต้น 200-300  เซ็นติเมตร
ระดับการแตกกิ่งแรก สูงประมาณ 150 ซม.
จำนวนแตกกิ่ง  น้อย
สีของเปลือกหัว สีน้ำตาล
สีของเนื้อหัว สีขาว
ผลผลิตเฉลี่ย 3.67  ตัน/ไร่
ปริมาณแป้งในหัว ประมาณ 23.3 %
อายุการเก็บรักษาท่อนพันธุ์ 30 วัน

         ด้วยลักษณะเด่นดังกล่าวของมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ทำให้มีการขยายพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ในช่วงปีพ.ศ. 2537 – 2544  มีพื้นที่ปลูกรวม 262,398 ไร่  โดยกรมส่งเสริมการเกษตร  กรมส่งเสริมสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย  

    ผลจากการสำรวจการปลูกมันสำปะหลังปี พ.ศ. 2545/46 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่าพันธุ์ เกษตรศาสตร์50 เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดในประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกถึง 3,791,104 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 60.91 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศ

    นอกจากนั้น การที่หัวมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มีปริมาณแป้งในหัวสูง ทำให้มาตรฐานของการผลิตแป้งของโรงงานแป้งมันสำปะหลังใช้วัตถุดิบลดลง ข้อมูลของสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย พบว่า หลังปีพ.ศ. 2542 การผลิตแป้ง 1 กิโลกรัม ต้องใช้หัวมันสด 4.59 กิโลกรัม จากเดิมใช้ 4.75 กิโลกรัม เป็นการลดการใช้วัตถุดิบลง0.16 กิโลกรัม ข้อมูลเฉพาะปี พ.ศ. 2545 ประเทศไทยผลิตแป้งมันสำปะหลังจำนวน 2,300,000 ตัน โรงงานใช้หัวมันสดลดลง 368,048 ตัน ทำให้อุตสาหกรรมมันสำปะหลังประหยัดต้นทุนได้ถึง 220 ล้านบาท เนื่องมาจากการใช้พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 (คำนวณจาก 60 % ของพื้นที่ปลูก)

    ในปี 2548 ได้มีการสำรวจการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์50  พบว่าให้ผลผลิตเฉลี่ย  2,785  กิโลกรัม/ไร่  ในขณะที่พันธุ์พื้นเมือง  (ระยอง 1)  ที่เคยมีพื้นที่ปลูกพันธุ์นี้กว่า  90%  ของประเทศ  ได้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง  2,337  กิโลกรัม/ไร่  การปลูกด้วยพันธุ์เกษตรศาสตร์50  ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นไร่ละ  448  กิโลกรัม   หรือผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งประเทศเฉพาะปีพ.ศ. 2548  ถึง  9,666,952  ตัน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น  9,666  ล้านบาท (ที่ราคาหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 1 บาท)  

รางวัลที่ได้รับ

ผลงานวิจัยและพัฒนามันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์50 ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติต่างๆ ดังนี้

  1. รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นสาขาพืช  จากการประชุมวิชาการครั้งที่  30  พ.ศ.2535  โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
  2. รางวัลที่  3  ผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี  2538  จากสภาวิจัยแห่งชาติ