การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้น รุ่นที่ 31”

         เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ปริมาณมาก ได้ต้นพันธุ์ที่ตรงตามพันธุ์ในเวลารวดเร็ว นอกเหนือจากใช้ในการขยายพันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งผลิตต้นพันธุ์เพื่อการส่งออกมาเป็นเวลานานแล้ว ปัจจุบันมีเอกชนนำเทคนิคนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้ากับพืชหลายชนิด เช่น ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับจำนวนมากเพื่อการส่งออก เช่น ปทุมมา ไม้น้ำ หรือ ในการผลิตต้นพันธุ์พืชใช้ในการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร เช่น สับปะรด หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย นอกจากนั้นเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังเป็นเทคนิคพื้นฐานซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการวิจัยได้หลายสาขา เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืช การคัดพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืช การผลิตพืชสมุนไพรเพื่อการสกัดสารสำคัญทางยา

         งานเทคโนโลยีชีวภาพ ฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พร้อมทั้งมีห้องปฏิบัติการเครื่องมืออุปกรณ์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชครบถ้วน ดังนั้นเพื่อให้บุคลากรได้ใช้ความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเบื้องต้นเป็นประจำทุกปี เป็นการเผยแพร่ความรู้พื้นฐานและเทคนิคทางด้านนี้ให้เป็นที่แพร่หลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งในด้านธุรกิจการผลิตต้นพันธุ์พืชเป็นการค้า ในด้านการเรียนการสอน และการวิจัย

ระยะเวลาและสถานที่จัดการอบรม

           ตั้งแต่วันที่ 12-15 มีนาคม 2556 รวม 4 วัน  ณ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯคุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรมนิสิต และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข้าราชการนอกสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกษตรกร บริษัทเอกชน และบุคคลทั่วไป

วิธีการฝึกอบรม/หลักสูตร : ประกอบด้วยการอบรมภาคบรรยาย และ ได้ฝึกปฏิบัติการจริงทุกคน

  1. หลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและการนำไปใช้ประโยชน์
  2. การออกแบบและจัดตั้งห้องปฏิบัติการ
  3. เครื่องมืออุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
  4. การเตรียมอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
  5. การเตรียมชิ้นส่วนพืชและการฟอกฆ่าเชื้อ
  6. ขั้นตอนการเลี้ยงเนื้อเยื่อและการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ
  7. การย้ายพืชออกปลูกและการอนุบาลหลังย้ายปลูก
  8. ปฏิบัติการ ”เตรียมสารละลายเข้มข้น (stock solution) สูตร MS”
  9. ปฏิบัติการ “เตรียมอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร MS และ การนึ่งฆ่าเชื้อ”
  10. ปฏิบัติการ “เตรียมชิ้นส่วนพืชและฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บริเวณผิวนอกชิ้นส่วนพืช”
  11. ปฏิบัติการ “เทคนิคปราศจากเชื้อและการถ่ายขวดเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ”
  12. ปฏิบัติการ “ย้ายพืชออกปลูกและการอนุบาลหลังย้ายปลูก”

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

รับผู้เข้าอบรมจำกัด จำนวน 15 – 20 คน (เนื่องจากต้องฝึกปฏิบัติจริงทุกคน)

ค่าลงทะเบียน

3,500 บาท กรณีผู้เข้ารับการอบรมเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัดได้ตามระเบียบของทางราชการและไม่ถือเป็นวันลา (ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า ใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนจะได้รับในวันอบรม)

 วิธีการสมัครและการชำระเงินรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึง วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 กรุณาส่งใบสมัครพร้อมชำระเงินสดได้ที่ ฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ชั้น 2 อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร 02-942-8740 หรือส่งใบสมัครทางไปรษณีย์

ถึงนางสาวรมณีย์ เจริญทรัพย์ ฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ชั้น 2 อาคารปฏิบัติการวิจัยกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
พร้อมชำระเงิน โดยโอนเงินเข้าบัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 043-7-28350-0 ธ. กรุงเทพ สาขา ม.เกษตรศาสตร์
หรือ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 069-2-51193-4 ธ. ทหารไทย สาขา ม.เกษตรศาสตร์(สำหรับผู้โอนเงิน ต้อง Fax ใบโอนเงิน พร้อมใบสมัครมาในวันที่ทำการโอนเงินด้วย หมายเลข Fax 02-942-8748) กรุณาส่งใบสมัครพร้อมชำระค่าลงทะเบียน 3,500 บาท ภายในวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

1. นางสาวรมณีย์ เจริญทรัพย์
2. นางสาวศาลักษณ์ พรรณศิริ
งานเทคโนโลยีชีวภาพ ฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โทร. 02-942-8740 ต่อ 304, 302, 306 โทรสาร 02-942-8748