มันสำปะหลัง : แหล่งปลูกมันสำปะหลังของโลก

แหล่งปลูก

แหล่งปลูกมันสำปะหลังของโลก

มันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 30 องศาเหนือและใต้ แต่แหล่งปลูกที่เจริญเติบโตได้ดีอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 20 องศาเหนือและใต้  ดังนั้นประเทศที่เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลัง จึงเป็นประเทศที่อยู่ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร

แหล่งปลูกมันสำปะหลังของโลก มีอยู่ใน 3 ทวีป คือ ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเซีย และทวีปอเมริกาใต้ ตามลำดับ โดยในปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังของโลกมีประมาณ 117 ล้านไร่ โดยส่วนใหญ่กระจายอยู่ในทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ประมาณ 75 ล้านไร่   ผู้ผลิตสำคัญ ได้แก่ ไนจีเรีย คองโก กานา แองโกลา   และโมซัมบิค  รองลงมาคือ ทวีปเอเชีย 25 ล้านไร่ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และจีน และทวีปอเมริกาใต้ 17 ล้านไร่ ได้แก่ บราซิล ปารากวัย โคลัมเบีย เปรู และเฮติ 

 ประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังโลก

ผลผลิตมันสำปะหลังโลกปี 2556 มีประมาณ 255.67 ล้านตัน โดยผลผลิตส่วนใหญ่เป็นของทวีปแอฟฟริกา 137.5 ล้านตัน รองลงมาคือ เอเชีย 85.5 ล้านตัน และลาตินอเมริกา 32.5 ล้านตัน ทั้งนี้ ประเทศที่มีการปลูกมันสำปะหลัง มากที่สุดคือประเทศไนจีเรีย 55.0 ล้านตัน รองลงมาคือ ประเทศไทย 30.23  ล้านตัน อินโดนีเซีย 24.60  ล้านตัน บราซิล 24.12 ล้านตัน และ คองโก 15.00 ล้านตัน ส่วนอินเดีย เวียดนาม กัมพูชาและจีน ผลิตได้ 8.2 ล้านตัน 7.8 ล้านตัน 7.0 ล้านตัน และ 4.6 ล้านตัน ตามลาดับ

ปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังโลก ปี  2556

ตารางแสดงปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังจากประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลังสูงสุด5อันดับของโลก ปี2551-2556

 หน่วย : ล้านตัน

 

ปี 2551

ปี 2552

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

โลก

232.11

253.30

227.54

245.71

252.13

255.67

ไนจีเรีย

44.58

36.82

42.53

52.40

54.00

55.00

ไทย *

25.16

30.09

20.19

21.91

29.85

30.23 

อินโดนีเซีย

21.59

22.04

23.92

24.01

23.92

24.60

บราซิล

26.70

24.40

24.97

25.35

23.41

24.12

คองโก

11.96

12.31

15.01

15.02

15.00

15.00

การผลิตมันสำปะหลังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2551-2556 เนื่องจากประเทศ ผู้ผลิตหลายประเทศ  เช่น โมซัมบิก จีน แองโกลา ไนจีเรีย และอินโดนีเซีย ได้ขยายการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค และความต้องการเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ในการผลิตเอทานอลเพื่อเป็นพลังงานทดแทน  3.สัดส่วนผลผลิต