ถั่วเขียว : การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียวในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1

[youtube]https://www.youtube.com/watch?v=Y2CqdHaroe0[/youtube]

งานวิจัยด้านถั่วเขียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มในช่วงปี พ.ศ. 2515-2520  ซึ่ง ผศ.ดร.ประสาน  ยิ่งชล เป็นหัวหน้าภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และเป็นหัวหน้าโครงการปลูกพืชเหลี่อมฤดู (multiple cropping system) ได้ใช้ถั่วในระบบการปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ปลูกสลับ (intercropping) และปลูกข้ามฤดู (crop sequencing) โดยมี ศ. ดร. อภิพรรณ พุกภักดี เป็นนักวิจัยหลัก ดำเนินการวิจัยที่ใช้ถั่วเขียวเป็นองค์ประกอบหลักของงานวิจัยของท่านจนถึงปี พ.ศ. 2544

ทางด้านโรคพืช ผศ. อุดม ภู่พิพัฒน์ ได้เริ่มงานวิจัยด้านโรคพืชตั้งแต่ปีงบประมาณ 2522 โดยท่านได้เป็นผู้ประสานงานโครงการวิจัยแม่บทพืชโปรตีนและพืชน้ำมันสูง (ป-น) ในช่วงปีพ.ศ. 2523-2530 อีกด้วย ซึ่งเมื่อท่านได้เกษียณอายุราชการลง  รศ.ดร.ณรงค์  สิงห์บุระอุดม  ได้เป็นนักวิจัยหลักด้านโรคพืช

ด้านแมลงศัตรูพืช รศ.ดร. บรรพต ณ ป้อมเพชร  ดร. สุรเชษฐ์ จามรมาน และรศ.ดร.อวบ สารถ้อย เป็นนักวิจัยหลัก ส่วนด้านการใช้ประโยชน์    ศ.ดร.อรอนงค์  นัยวิกุล   จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร   ได้ทำงานร่วมกับ อ.สมชาย ประภาวัติ จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในช่วงเดียวกัน

ปี พ.ศ. 2520-2522 ดร.สุนทร  ดวงพลอย เป็นนักปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวคนแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปี พ.ศ. 2523  ถึงปัจจุบัน  ศ.ดร.พีระศักดิ์  ศรีนิเวศน์  ได้รับงบประมาณวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สวพ.มก.) ให้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวที่วิทยาเขตกำแพงแสน และได้มอบโครงการปรับปรุงพันธุถั่วเขียวที่ได้รับการสนับสนุนจาก สวพ.มก. ให้ รศ.ดร.รังสฤษดิ์  กาวิต๊ะ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร เป็นหัวหน้าโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน  โดย ศ.ดร.พีระศักดิ์  ศรีนิเวศน์ ร่วมกับ อ. ดร. ประกิจ  สมท่า และนิสิตบัณฑิตศึกษา ได้ดำเนินงานวิจัยด้านพันธุศาสตร์และเครื่องหมายโมเลกุลของถั่วเขียวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึง 2554  โดยตั้งแต่ ดร.ประกิจ  สมท่า ได้เข้าร่วมทีมวิจัยด้านพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวเป็นต้นมา โครงการปรับปรุงพันธุถั่วเขียวได้ขยายงานวิจัยไปถึงถั่วในสกุล Vigna อื่น ๆ อีกด้วย ซึ่ง ดร.ประกิจ  สมท่า เป็นกำลังสำคัญในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติที่มี impact factor มากกว่า 40 เรื่อง ในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยขึ้นเป็นประเทศผู้นำของโลกในการตีพิมพ์ผลงานด้านพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวในปัจจุบัน

ด้านการดำเนินงานวิจัยในช่วงปี พ.ศ. 2521 โครงการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวโดยกรมวิชาการเกษตร มี อ. ดร. อาวุธ  ณ ลำปาง เป็นหัวหน้าโครงการ   และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมี อ.ดร.สุนทร  ดวงพลอย เป็นหัวหน้าโครงการ ได้นำสายพันธุ์จากศูนย์วิจัยพืชผักเขตร้อน (AVRDC – Asian Vegetable Research Center) จากไต้หวัน มาปลูกทดสอบ และพบว่า ส่วนใหญ่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 จนถึง ปี พ.ศ. 2523 ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ จึงได้เริ่มเป็นหัวหน้าโครงการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อจาก อ. ดร. สุนทร ดวงพลอย โดยมี รศ. ดร. รังสฤษดิ์ กาวิต๊ะ ซึ่งศึกษาต่อขั้นปริญญาโทจนจบการศึกษาในปี พ.ศ.2524 และบรรจุเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร เป็นผู้ร่วมงานมาโดยตลอด นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการของ East and Southeast Asia Center ของ AVRDC อีก 4 ท่าน ที่ได้ช่วยพัฒนาพันธุ์และองค์ความรู้ด้านถั่วเขียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาเป็นระยะ ๆ ต่อเนื่องกัน คือ นายอนุวัฒน์ เจนกฤติยา นายธำรงค์ชัย อินทร์ดอนไพร น.ส. อุษา ด้วงสงค์ นายเหี้ยมหาญ เจเถื่อน นายวรวิทย์ โสรัจจาภินันท์ และนายสนั่น ริ้วทองชุ่ม จน East and Southeast Asia Center ของ AVRDC ได้ยกเลิกโครงการวิจัยถั่วเขียวร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้ดำเนินการวิจัยโดยไม่เกี่ยวข้องกับ AVRDC ตั้งแต่บัดนั้น และได้มีอาจารย์ใหม่อีก 1 ท่าน ของภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน คือ อ. ดร. ประกิจ สมท่า เข้าร่วมเป็นนักวิจัยในโครงการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวอีกคนหนึ่ง

นักวิจัยในโครงการด้านปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

1.ดร.พีระศักดิ์2.รังสฤษดิ์3.วารุณี

      ศ.ดร.พีระศักดิ์  ศรีนิเวศน์          รศ.ดร.รังสฤษดิ์  กาวีต๊ะ           นางวารุณี โสมนัส  เมิส์ซ 

4.ประกิจ 5.วรวิทย์ 666

    ผศ.ดร.ประกิจ  สมท่า            นายวรวิทย์  โสรัจจาภินันท์     นายสนั่น  ริ้วทองชุ่ม
ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และลูกศิษย์รุ่นปัจจุบัน
ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และลูกศิษย์รุ่นปัจจุบัน