เทคโนโลยีสีเขียว 1 : พลาสติกห่วงใยสุขภาพ

ผศ.ดร.วรรณวิมล ปาสาณพันธ์ จากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาสารเติมแต่งต้านอนุมูลอิสระจากพอลิแลคติกแอซิดรูปร่างคล้ายดาวที่มี 4 แขน เพื่อใช้ในการดักจับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น

Read more

วัคซีนป้องกันไวรัสชนิดใหม่ในปลานิลและปลานิลแดง

ผศ.น.สพ.ดร.วิน สุรเชษฐพงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะผู้วิจัย ได้ทำการศึกษาสาเหตุของปัญหาโรคตายเดือน โดยนำตัวอย่างปลาที่มีอาการตายเดือนมาตรวจวิเคราะห์ ทำให้ทราบว่าเชื้อที่ก่อโรคตายเดือน เป็น “ไวรัสชนิดใหม่” ที่เรียกว่า Tilapia Lake Virus (TiLV)

Read more

ชุดตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อย

ศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อย (KUcheck-F FMDV-NSP ELISA ที่สามารถตรวจหาสัตว์ติดเชื้อแฝง สามารถแยกสัตว์ติดเชื้อออกจากสัตว์ที่ได้รับวัคซีน ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีความไวสูง

Read more

ลดการแพร่กระจายของสัตว์พาหะด้วยเครื่องพ่นไอเย็นอิ่มตัวของน้ำหมักอีเอ็ม

ทีมวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดยอาจารย์ วรพจน์ ศตเดชากุล และดร. เบญญา กสานติกุล จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และทีมวิจัยซึ่งเป็นนิสิตจากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

Read more

รักษาสิวอักเสบด้วยสมุนไพรรวม

ผศ.ดร.ชลทิชา ตันติธาดาพิทักษ์ และ ดร.วรรณรัตน์ พรศิริวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับน้ำมันสมุนไพรธรรมชาติที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียสูง และพบว่าน้ำมันสมุนไพรหลายชนิดมีความสามารถต้านทานแบคทีเรียได้ดีกว่า tea tree oil ที่นิยมใช้กันอยู่ในผลิตภัณฑ์รักษาสิวในท้องตลาด โดยน้ำมันสมุนไพรเหล่านี้มีสารออกฤทธิ์ต้านทานแบคทีเรียที่มีโมเลกุลขนาดเล็กที่สามารถซึมผ่านชั้นผิวได้ดี

Read more

เครื่องสีข้าวส่วนบุคคล ขนาดจิ๋วแต่คุณภาพแจ๋ว

รศ. ดร.ศักดา อินทรวิชัย ภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยทีมคณะนักวิจัย ได้ทำการพัฒนาต่อยอดเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก เป้าหมายการออกแบบเพื่อการใช้งานในระดับครัวเรือนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องสีข้าวจากรุ่นเดิมและเพิ่มประสิทธิผลการสีข้าว ให้เหมาะกับการใช้งานในระดับครัวเรือน เพื่อสอดคล้องกับการใช้ชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง สามารถสีข้าวเมื่อต้องการที่จะบริโภค ได้ความสดใหม่ของข้าว ด้วยปริมาณที่พอเหมาะกับการบริโภค

Read more

เครื่องสีข้าวสำหรับชุมชน

รศ.ดร.ศักดา อินทรวิชัย อาจารย์ภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาเครื่องสีข้าว ร่วมกับทีมนักวิจัยในโครงการ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัย และออกแบบเครื่องสีข้าวที่มีคุณภาพเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และผลผลิตข้าวของเกษตรกรไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยมีแนวคิดในการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมและสอดคล้องตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อชาวนาไทย สามารถพึ่งพาตนเองในการผลิตข้าวได้อย่างครบวงจร รวมทั้งลดภาวะการขาดดุลการค้าเครื่องจักรกลการเกษตรด้วย

Read more

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากน้ำมันจระเข้กระชายดำ

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย รศ.ดร.จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ รศ.ดร.วินเชยชมศรี จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ดร.สุดาวรรณ เชยชมศรี จากคณะเกษตรกำแพงแสน และนายอมร ประดับทอง นิสิตปริญญาเอก โครงการพหุวิทยาการ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการวิจัยและพัฒนาในการใช้ประโยชน์ไขมันจระเข้ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการผลิตหนังและเนื้อจระเข้

Read more

การลดต้นทุนการพัฒนาถ่านกัมมันต์จากชานอ้อย

ผศ.ดร.ศิริกาญจนา ทองมี อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการศึกษาการเตรียมถ่านกัมมันต์ โดยมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบจากวัสดุชีวมวลซึ่งเป็นเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย ได้แก่ ชานอ้อย ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล ศึกษาการใช้กระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์ทางกายภาพด้วยการใช้ไอน้ำ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตสำหรับภาคอุตสาหกรรม ศึกษาหาสภาวะอุณหภูมิและเทคนิคการเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมเพื่อการผลิตถ่านกัมมันต์จากชานอ้อย

Read more

เพิ่มผลผลิตไข่มดแดง สร้างรายได้

รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา จากภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา พฤติกรรมของมดแดง ทำการวิจัยเพื่อหาแนวทางเพิ่มผลผลิตไข่มดแดง เพื่อส่งเสริมให้สามารถผลิตไข่มดแดงเป็นอาชีพ หรือทำเป็นการค้าได้ โดยใช้วิธีการเพิ่มปริมาณไข่มดแดงต่อรังและต่อต้นให้มากที่สุด ด้วยการทำให้มดแดงสร้างรังขนาดใหญ่ และเพิ่มจำนวนรังมดบนต้นไม้แต่ละต้นให้มากขึ้น

Read more